วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย ...

ปีที่ 8 ฉบับที่ เดือน ตุลาคม - ปี พ.ศ. 2561


ไฟล์ ดาวน์โหลด

     1544846617-28HE020Tj.pdf

   หน้าที่ 323

กษม ชนะวงศ

CAS713

ชื่อผู้วิจัย   กษม ชนะวงศ
ชื่อผู้ส่งวารสารร่วม/ที่ปรึกษา สถานะ
ผู้วิจัยร่วม
วีณา อิศรางกูร ณ อยุธยา2 รัชนีบูล เศรษฐภูมิรินทร์3 ทิพวัลย์ ด่านสวัสดิกุล4 ปานศิริ พูนพล5
วารสารฉบับเต็ม


สาขา

สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
ชื่อบทความ (ภาษาไทย) ผลของการบำบัดกลุ่มเล่าเรื่อง ความสุขของตนเอง เพื่อลดความเครียด และเพิ่มความภาคภูมิใจในตนเอง ชมรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
ชื่อบทความ (ภาษาอังกฤษ)
บทคัดย่อ ภาษาไทย การวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของการบำบัดเล่าเรื่องความสุขของตนเอง เพื่อลดความเครียดและเพิ่มความภาคภูมิใจในตนเองของผู้สูงอายุ ชมรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงและชายสูงอายุ แบ่งกลุ่มเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน กลุ่มควบคุม 30 คน เลือกแบบเจาะจงใช้เครื่องมือวัดความเครียด และเครื่องมือวัดความภาคภูมิใจ เปรียบเทียบก่อนและหลังทดลอง และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มบำบัดผสมผสานประกอบด้วยกิจกรรม เล่าเรื่องในอดีตของตนเองที่มีความสุขประทับใจ การทำสมาชิก การทำสันทนาการด้วยกิจกรรมเข้าจังหวะ และการประกอบอาหารที่ตนเองถนัด ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่ม กลุ่มควบคุมจะได้รับการดูแลตามปกติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Chi square และ Fisher’s Exact Test
ผลการวิจัยพบว่าในก่อนการทดลองกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมมีข้อมูลไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เปรียบเทียบคะแนนความเครียด ผลการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 หลังการทดลองผลการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การเปรียบเทียบคะแนนความเครียดระหว่างก่อนและหลังการทดลองภายในกลุ่มทดลอง พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดหลังการทดลองน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การเปรียบเทียบคะแนนความเครียดระหว่างก่อนและหลังของกลุ่มควบคุม พบว่าไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 การเปรียบเทียบคะแนนความภาคภูมิใจในตนเอง ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการทดลอง พบว่าไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 หลังการทดลอง ผลการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความภาคภูมิใจในตนเองในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การเปรียบเทียบคะแนนความภาคภูมใจในระหว่างก่อนกับหลังการทดลอง ภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่ากลุ่มทดลอง ผลการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยพบว่า หลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยคะแนนความภาคภูมิใจในตนเองหลังการทดลองมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเปรียบเทียบคะแนนความภาคภูมิใจในตนเองก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
คำสำคัญ
บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ This quasi experimental research aimed to study effect of integrative reminiscence therapy for decreasing stress and promotive self esteem in the elderly men and wemen divided into experiment group 30 and control group 30 selecting by specific random sampling. Using tools measurement stress and self esteem. Comparing before and after experiment and comparing between integrative group therapy included reminiscence group activities meditation, cooking and recreation. Control group and normal activities. Analyzing data using Chi square and Fisher’s Exact Test.
The result showed that experiment group which receiving integrative group therapy alter experiment had odiferous lesser stress than before experiment, and higher self-esteem. When comparing between group the effect of esteem were not deference. Self-esteem in experience group higher than control group.
This quasi experimental research aimed to study effect of integrative reminiscence therapy for decreasing stress and promotive self esteem in the elderly men and wemen divided into experiment group 30 and control group 30 selecting by specific random sampling. Using tools measurement stress and self esteem. Comparing before and after experiment and comparing between integrative group therapy included reminiscence group activities meditation, cooking and recreation. Control group and normal activities. Analyzing data using Chi square and Fisher’s Exact Test. The result showed that experiment group which receiving integrative group therapy alter experiment had odiferous lesser stress than before experiment, and higher self-esteem. When comparing between group the effect of esteem were not deference. Self-esteem in experience group higher than control group.
Keyword reminiscent group therapy, stress, self esteem, elder