วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย ...

ปีที่ 9 ฉบับที่ เดือน พฤศจิกายน - ปี พ.ศ. 2562


ไฟล์ ดาวน์โหลด

     1578024312-8.ED010(58-67).pdf

   หน้าที่ 58

พจณิชา ฤกษ์สมุทร

CAS848

ชื่อผู้วิจัย   พจณิชา ฤกษ์สมุทร
ชื่อผู้ส่งวารสารร่วม/ที่ปรึกษา สถานะ
ผู้วิจัยร่วม
-
วารสารฉบับเต็ม


สาขา

สาขาการศึกษา
ชื่อบทความ (ภาษาไทย) การจัดกิจกรรมดนตรีที่หลากหลายเพื่อเสริมสร้างความตระหนักในคุณค่าของดนตรีไทย
ชื่อบทความ (ภาษาอังกฤษ)
บทคัดย่อ ภาษาไทย การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความตระหนักในคุณค่าของดนตรีไทยโดยใช้กิจกรรมดนตรีที่หลากหลายจากการจัดประสบการณ์ในรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ทางดนตรี ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ที่กำลังศึกษาอยู่ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ จำนวน 486 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ปีการศึกษา 2561 กำลังศึกษาอยู่ชมรมดนตรีศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ จำนวน 15 คน จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มตัวอย่าง. ระยะเวลาในการวิจัย 16 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 16 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 4 หน่วย แบบวัดความตระหนักในคุณค่าของดนตรีไทย การวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอทักษะทางดนตรีด้วยภาพกราฟเส้น และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test รวมถึงวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนชมรมดนตรีศึกษาที่ได้รับการเรียนรู้จากการจัดกิจกรรมทางดนตรีที่หลากหลาย มีคะแนนเฉลี่ยด้านความตระหนักในคุณค่าของดนตรีไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 พัฒนาการของนักเรียนชมรมดนตรีศึกษาหลังการได้รับการจัดประสบการณ์ในรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ทางดนตรีที่หลากหลาย จากการวิเคราะห์ พบว่าส่วนใหญ่มีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตามลำดับจากสัปดาห์ที่ 1–16 ทั้งนี้มีเพียงค่าเฉลี่ยของคะแนนในสัปดาห์ที่ 2 ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 3 ที่คะแนนเฉลี่ย พัฒนาการของนักเรียนชมรมดนตรีศึกษาหลังการได้รับการจัดประสบการณ์ในรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ทางดนตรีที่หลากหลายมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย เนื่องจากเป็นช่วงการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีพม่าที่มีจังหวะเป็นครั้งแรก ภายหลังจากที่มีการจัดการเรียนรู้แล้วนักเรียนมีทักษะทางดนตรี เห็นความสำคัญและมีความตระหนักในคุณค่าของดนตรีไทยอย่างต่อเนื่อง พัฒนาการของนักเรียนมีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ และพฤติกรรมของนักเรียนหลังจากการได้รับทางดนตรีเป็นไปในแนวทางที่ดี
คำสำคัญ
บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ This research study aim is to enhance the awareness of A value of Thai music by using various musical activities from the experience of musical learning activities. The population used in this study was secondary school students. Currently 486 students are studying at Ongkharak Demonstration School, Srinakharinwirot University. A total of 15 samples were selected. 16 weeks of research time, 1 time / hour, 1 hour, total of 16 hours. A 4-unit learning management plan recognizes the value of Thai music. Analysis of data and quantitative data were analyzed by percentage, arithmetic mean, standard deviation and
t-test, as well as qualitative analysis by content analysis.
The research found students of music education clubs have been learning from various musical activities. The average score on awareness of Thai music after class was higher than before at the .01 level of significant. The development of music education students after being given experiences in a variety of musical learning activities 16 weeks of research time . Only the average score in week 2 to week 3 slightly decreased average scores because this is the first time learned that Burmese music skills. After learning students have development musical skills and awareness of the value of Thai music.
This research study aim is to enhance the awareness of A value of Thai music by using various musical activities from the experience of musical learning activities. The population used in this study was secondary school students. Currently 486 students are studying at Ongkharak Demonstration School, Srinakharinwirot University. A total of 15 samples were selected. 16 weeks of research time, 1 time / hour, 1 hour, total of 16 hours. A 4-unit learning management plan recognizes the value of Thai music. Analysis of data and quantitative data were analyzed by percentage, arithmetic mean, standard deviation and t-test, as well as qualitative analysis by content analysis. The research found students of music education clubs have been learning from various musical activities. The average score on awareness of Thai music after class was higher than before at the .01 level of significant. The development of music education students after being given experiences in a variety of musical learning activities 16 weeks of research time . Only the average score in week 2 to week 3 slightly decreased average scores because this is the first time learned that Burmese music skills. After learning students have development musical skills and awareness of the value of Thai music.
Keyword Various music activities , Awareness of the value of Thai music.