ไฟล์ ดาวน์โหลด |
261574631.pdf |
|||||||||
|
ชื่อผู้วิจัย ชาญยุทธิ์ วงคุย
|
|||||||||
บทคัดย่อ ภาษาไทย |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาและระดับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 468 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 125 คน และครูผู้สอน จำนวน 343 คน ซึ่งได้จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกนสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.817 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ เพียร์สันและค่าสัมประสิทธิ์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านวิสัยทัศน์ผู้นำดิจิทัล สำหรับด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านจริยธรรมที่ดีต่อองค์กรและสังคม 2. ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน สำหรับด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน 3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูมีความสัมพันธ์ในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็นตัวพยากรณ์ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู มี 4 ด้าน คือ ด้านวิสัยทัศน์ผู้นำดิจิทัล (X1) ด้านวิถีการเรียนรู้เชิงดิจิทัล (X3) ด้านการพัฒนาสู่ความเป็นมืออาชีพของผู้บริหาร(X4) และด้านสมรรถนะทางดิจิทัลของผู้บริหาร (X2) ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยหรืออำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 51.90 (R2 = .519) สามารถสร้างเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานตามวิธี (Stepwise) ดังต่อไปนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Unstandardized Score) Y = 0.125+ 0.576(X1) + 0.378(X2) + 0.596(X3) - 0.583(X4) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (Standardized Score) Z(Y) = 0.429Z(X1) + 0.281Z(X2) + 0.566Z(X3) - 0.487Z(X4) |
|||||||||
คำสำคัญ | ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา; ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู | |||||||||
บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ | - -
|
|||||||||
Keyword | Digital Leadership of School Administrators; Performance Effectiveness of Teachers | |||||||||
ชาญยุทธิ์ วงคุย
1 บทความชื่อ - สกุล | วารสาร | ไฟล์ |
หน้า |
|
---|---|---|---|---|
|
ชาญยุทธิ์ วงคุย CAS1679 |
ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น |