วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย ...

ปีที่ 8 ฉบับที่ เดือน ตุลาคม - ปี พ.ศ. 2561


ไฟล์ ดาวน์โหลด

     1541920078-2HS036(14-28).pdf

   หน้าที่ 14
User Image

มาณวิกา ฉายาพันธุ์

CAS634

ชื่อผู้วิจัย   มาณวิกา ฉายาพันธุ์
ชื่อผู้ส่งวารสารร่วม/ที่ปรึกษา สถานะ
ผู้วิจัยร่วม
-
วารสารฉบับเต็ม


สาขา

สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
ชื่อบทความ (ภาษาไทย) การยกระดับการให้บริการของเทศบาลนครขอนแก่น
ชื่อบทความ (ภาษาอังกฤษ)
บทคัดย่อ ภาษาไทย งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานและแนวทางการยกระดับการให้บริการ ปัญหาของการยกระดับการให้บริการ เพื่อรวบรวมปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะสำหรับการนำไปปรับใช้ในการพัฒนาระบบการให้บริการของหน่วยงานราชการอื่นๆเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง (Semi-Structrrt Interview) กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้มี 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้กำหนดนโยบายเทศบาลนครขอนแก่น กลุ่มผู้ให้บริการเทศบาลนครขอนแก่น กลุ่มหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกลุ่มตัวแทนผู้รับบริการเทศบาลนครขอนแก่น จำนวน 18 คน วิธีการศึกษา คือ การศึกษาข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์และวิธีการสังเกตุการณ์อย่างมีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า
1. สภาพการดำเนินงานและแนวทางการยกระดับการให้บริการ พบว่า เทศบาลนครขอนแก่นมีการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ที่มีความชัดเจน ตรงจุด และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในการพัฒนาเทศบาลนครขอนแก่น และเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในฐานะเจ้าของบ้าน และได้นำความคิดเห็น ข้อเสนอแนะของประชาชนไปสู่การปฏิบัติจริง โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรม จึงทำให้เทศบาลนครขอนแก่นได้มีการปรับปรุงระบบการใช้เทคโนโลยีโดยนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาร่วมกับการปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้น มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมการให้บริการอยู่เสมอเพื่อการให้การบริการที่ดีต่อประชาชนผู้มาติดต่อราชการและเพื่อก่อให้เกิดความสะดวกในการใช้บริการของประชาชน เช่น การใช้เครื่องกดบัตรคิวเพื่อการรับบริการทำให้การรับบริการเป็นระเบียบ การใช้เครื่องอ่านบัตรสมาร์ทการ์ดโดยไม่ต้องถ่ายสำเนาบัตรประชาชน การร้องทุกข์ผ่านระบบ You Phee การชำระภาษีผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีการจัดการข้อมูลของผู้รับบริการโดยนำระบบคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตมาใช้อย่างเหมาะสมและนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ จากผู้รับบริการมาปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน
2. สภาพปัญหาของการยกระดับการให้บริการ พบว่า ประชาชนบางกลุ่มยังไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลในการให้บริการต่างๆ ได้ เช่น ยังไม่สามารถเข้าถึงระบบอินเตอร์เน็ตหรือแอพพลิเคชั่นที่เทศบาลนครขอนแก่นเปิดให้บริการ ทำให้ประชาชนผู้รับบริการไม่ทราบรายละเอียดต่างๆ ในการเข้ารับบริการ ขาดการพัฒนาระบบบุคลากรในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการทําให้บางครั้งประสิทธิภาพในการให้บริการไม่ดีเท่าที่ควร รวมถึงปริมาณงานในการให้บริการต่อวันนั้นค่อนข้างมาก แต่มีระยะเวลาในการให้บริการที่จำกัด จึงทำให้การทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพเนื่องจากงานของแต่ละฝ่ายมีความเฉพาะด้านไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่แทนกันได้
3. ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะสำหรับการนำไปปรับใช้ในการพัฒนาระบบการให้บริการของหน่วยงานราชการอื่นๆ พบว่า เทศบาลนครขอนแก่นควรปรับปรุงและติดตามระบบแอพพลิเคชั่นสำหรับให้บริการประชาชนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มความสะดวก หลากหลาย และครอบคลุมการให้บริการของส่วนงานด้านต่างๆ ของเทศบาลนครขอนแก่น และควรมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลช่องทางการรับบริการให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและคุ้มค่าอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และก่อให้เกิดความสะดวกสบายในการติดต่อราชการ เพื่อที่จะสามารถนำร่องและพัฒนาและต่อยอดไปยังองค์กรและหน่วยงานอื่นๆได้
คำสำคัญ
บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ Purposes of this research are : 1) to study the situation and guideline for the development of the innovation for service, 2) to investigate the problems and obstacles of the development for the innovation, and 3) to recommend guideline(s) for the development of the governmental service system.
Tool of this research was the semi-structure interviewing conducted on 18 samples from 4 target populations consisted of the policy makers of Khon Kaen Municipality, service providers of Khon Kaen Municipality, concerned agencies, and representatives of service recipients . Research methodology were the study of primary data and the participatory observation. Results of this research revealed that:
1.In terms of the situation and guideline for the development of the innovation for service, Khon Kaen Municipality had created the precise and practicable development policies and strategies aligned with the citizens’ participation in proposing of their needs which was brought directly to the Municipality’s actions with technology and innovation. In addition, the frequently improvement and introduction of new technology and innovation such as the queue card dispenser booth for the provision of the service in appropriated order , the smart identification card reader for the reduction of photocopied documents, the introduction of You Phee complaint system and internet system, the tax payment via smart phone , the digital data collection and management regarding the service recipients, had significantly met the need of the citizens.
2. In terms of problems and obstacles of the development for the service, there were some group of citizens who could not receive the Municipality’s service due to their limitation to access the internet system and the Municipal’s digital application. Moreover, the lack of information technology competencies development in a concerned officials as well as the excessive quantity of routine duties in limited working hours without the shifting or replacing of staffs with specific expertise ,were considered as the key problems and obstacles of this aspect.
3. In terms of the guideline(s) for the development of the governmental service system, Khon Kaen Municipality was recommended to improve the existing digital service application therefore it could provide more convenient and wider range of services covering the Municipal’s duties and responsibilities. In addition, there should be a distribution of information regarding the service channel to the service recipients therefore they could contact with the Municipality effectively and conveniently.The aforementioned improvement was also expected as the guideline for the improvement of excellent service of another government agencies.
Purposes of this research are : 1) to study the situation and guideline for the development of the innovation for service, 2) to investigate the problems and obstacles of the development for the innovation, and 3) to recommend guideline(s) for the development of the governmental service system. Tool of this research was the semi-structure interviewing conducted on 18 samples from 4 target populations consisted of the policy makers of Khon Kaen Municipality, service providers of Khon Kaen Municipality, concerned agencies, and representatives of service recipients . Research methodology were the study of primary data and the participatory observation. Results of this research revealed that: 1.In terms of the situation and guideline for the development of the innovation for service, Khon Kaen Municipality had created the precise and practicable development policies and strategies aligned with the citizens’ participation in proposing of their needs which was brought directly to the Municipality’s actions with technology and innovation. In addition, the frequently improvement and introduction of new technology and innovation such as the queue card dispenser booth for the provision of the service in appropriated order , the smart identification card reader for the reduction of photocopied documents, the introduction of You Phee complaint system and internet system, the tax payment via smart phone , the digital data collection and management regarding the service recipients, had significantly met the need of the citizens. 2. In terms of problems and obstacles of the development for the service, there were some group of citizens who could not receive the Municipality’s service due to their limitation to access the internet system and the Municipal’s digital application. Moreover, the lack of information technology competencies development in a concerned officials as well as the excessive quantity of routine duties in limited working hours without the shifting or replacing of staffs with specific expertise ,were considered as the key problems and obstacles of this aspect. 3. In terms of the guideline(s) for the development of the governmental service system, Khon Kaen Municipality was recommended to improve the existing digital service application therefore it could provide more convenient and wider range of services covering the Municipal’s duties and responsibilities. In addition, there should be a distribution of information regarding the service channel to the service recipients therefore they could contact with the Municipality effectively and conveniently.The aforementioned improvement was also expected as the guideline for the improvement of excellent service of another government agencies.
Keyword Public Administration, Reforming the bureaucracy, Enhancement, Innovation, Service