วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย ...

ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม ปี พ.ศ. 2561


ไฟล์ ดาวน์โหลด

     1545993498-8.2.21.pdf

   หน้าที่ 178

จุฬาลักษณ์ อักษรณรงค์

CAS735

ชื่อผู้วิจัย   จุฬาลักษณ์ อักษรณรงค์
ชื่อผู้ส่งวารสารร่วม/ที่ปรึกษา สถานะ
ผู้วิจัยร่วม
กุหลาบ ปุริสาร
วารสารฉบับเต็ม


สาขา

สาขาการศึกษา
ชื่อบทความ (ภาษาไทย) ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตหนองหาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 จังหวัดอุดรธานี
ชื่อบทความ (ภาษาอังกฤษ)
บทคัดย่อ ภาษาไทย การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศ และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหาสถานศึกษา สหวิทยาเขตหนองหาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 175 คน แบ่งเป็นผู้บริหาร 8 คน และครู 167 คน จากนั้นสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) โดยใช้โรงเรียนเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง และกำหนดสัดส่วนจำนวนกลุ่มตัวอย่าง แล้วนำมาสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป หาค่าความถี่ (f) ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) แบบขั้นตอน (Stepwise Method)
ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศ ของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตหนองหาน จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความเป็นพลเมืองดิจิทัล อยู่ในระดับสูงสุด ส่วน ด้านการปรับปรุงอย่างเป็นระบบ อยู่ในระดับน้อยที่สุด 2) ปัจจัยที่ส่งพลต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา โดยเรียงค่าสัมประสิทธิ์จากมากไปหาน้อย คือ ด้านการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านการพัฒนาวิชาชีพ ด้านทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับด้านที่มีความสัมพันธ์น้อยที่สุด คือ ด้านสมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
3) การพยากรณ์ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษามีเพียง 2 ปัจจัยเท่านั้นที่ร่วมกันพยากรณ์ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ ด้านการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านการพัฒนาวิชาชีพด้านทางเทคโนโลยีสารสนเทศ 4) ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Regression analysis) ของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า เมื่อนำตัวแปรต้นปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านการพัฒนาวิชาชีพด้านทางเทคโนโลยีสารสนเทศ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.413 (R = 0.413) และค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยร้อยละ 17.10 (R2 = 0.171) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่ามาตรฐานค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศ ของผู้บริหารสถานศึกษาด้านสูงสุด คือ ด้านการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศ รองลงมา คือด้านการพัฒนาวิชาชีพด้านทางเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปของคะแนนมาตรฐาน (β) เท่ากับ 0.241, และ 0.207 ตามลำดับ
คำสำคัญ
บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ The purpases of this research were to study the level and to study the factors effecting to the technological leadership ship of the school administrators at Nomghan school network the Secondary Educational Service Area Office 20, Udon thani Province. The sample were 8 administers 167 teachers,
a totally of 175 persons by stratified random sampling, classified by school unit and thon simple random sampling was wed. Research instrument was rating real questionnaire. Data analysis wed computer program to find f, percentage, mean, S.D, Pearson’s Correlation Coefficient and Multiple Regression Analysis (Step rise Method).
The results :
1. The level of Technological leadership of the principals at Nonghan school network was at the “high” level as a whole. Considering in each found that being digital people aspect was at the highest and the improving systemly aspect was at the least level.
2. The factors that effecting to the technological leadership of the principals from high to low correlation efficient level were : informational technology integrationaspect, professional development on information technology aspect and the lowest were technological competency aspect.
3. The two factors that could predict the technological leadership were informational technology integrationaspect and professional development on informational technology aspect.
4. The result analyzing multiple regression equation found the multiple correlation coefficients
at R = 0.413, coefficient of determination was found at 17.10% (R2 = 0.171) with statistically significant
at .05, the factors effecting to technological leadership of the administrators ; the highest aspect was the integration on informational technological aspect (β = 0.241) and the lower was the professional on informational technology aspect (β = 0.207) in orderly.
The purpases of this research were to study the level and to study the factors effecting to the technological leadership ship of the school administrators at Nomghan school network the Secondary Educational Service Area Office 20, Udon thani Province. The sample were 8 administers 167 teachers, a totally of 175 persons by stratified random sampling, classified by school unit and thon simple random sampling was wed. Research instrument was rating real questionnaire. Data analysis wed computer program to find f, percentage, mean, S.D, Pearson’s Correlation Coefficient and Multiple Regression Analysis (Step rise Method). The results : 1. The level of Technological leadership of the principals at Nonghan school network was at the “high” level as a whole. Considering in each found that being digital people aspect was at the highest and the improving systemly aspect was at the least level. 2. The factors that effecting to the technological leadership of the principals from high to low correlation efficient level were : informational technology integrationaspect, professional development on information technology aspect and the lowest were technological competency aspect. 3. The two factors that could predict the technological leadership were informational technology integrationaspect and professional development on informational technology aspect. 4. The result analyzing multiple regression equation found the multiple correlation coefficients at R = 0.413, coefficient of determination was found at 17.10% (R2 = 0.171) with statistically significant at .05, the factors effecting to technological leadership of the administrators ; the highest aspect was the integration on informational technological aspect (β = 0.241) and the lower was the professional on informational technology aspect (β = 0.207) in orderly.
Keyword Leadership, Technological, School Pricipals