วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย ...

ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม ปี พ.ศ. 2562


ไฟล์ ดาวน์โหลด

     1577264008-13.(82-88).pdf

   หน้าที่ 82

จีราวัฒน์ มันทรา

CAS832

ชื่อผู้วิจัย   จีราวัฒน์ มันทรา
ชื่อผู้ส่งวารสารร่วม/ที่ปรึกษา สถานะ
ผู้วิจัยร่วม
ปรีชา ศรีกงพาน2 วีระยุทธ รัชตเวชกุล 3 ณิชกานต์ ถนอมศักดิ์ชัย4
วารสารฉบับเต็ม


สาขา

สาขาสังคมวิทยา
ชื่อบทความ (ภาษาไทย) ขวัญและกำลังใจของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานของศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อบทความ (ภาษาอังกฤษ)
บทคัดย่อ ภาษาไทย การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาขวัญและกำลังใจของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานของศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลส่งผลต่อการมีขวัญ และกำลังใจของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจำแนกตามสถานภาพ มีกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานของศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวนทั้งสิ้น 300 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่าง รายคู่ตามวิธีของ LSD (Least Significant Differential) และสรุปผลปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ โดยวิธีวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายจำนวน 169 คน อายุส่วนใหญ่ 51 ปีขึ้นไป จำนวน 130 คน สถานภาพส่วนใหญ่สมรส จำนวน 226 คน การศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับปริญญาตรี จำนวน 125 คน ตำแหน่งส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างประจำ จำนวน 146 คน รายได้เฉลี่ยส่วนใหญ่ต่อเดือน 20,001 บาทขึ้นไป จำนวน 194 คน ส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 11 ปีขึ้นไป จำนวน 182 คน ส่วนด้านขวัญและกำลังใจของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานของศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ รองลงมาคือ ด้านสภาพแวดล้อมของสถานที่ทำงาน และด้านสวัสดิการที่ได้รับและด้านการสนับสนุนของผู้บังคับบัญชา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านความเป็นธรรมของหน่วยงานเมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อขวัญและกำลังศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามด้านเพศ อายุ การศึกษา ตำแหน่ง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่สถิติระดับ 0.05
คำสำคัญ
บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ The purposes of this study were : 1) to study the morale for Job performance of personnel under center of disaster prevention and mitigation in Northeastern of Thailand, 2) to study the personels opinions towards the Morale for job performance of personnel under center of disaster prevention and mitigation in northeastern of Thailand, by studying the samples of 300 persons. The research tool used questionnaire. The data analysis techniques used frequency, percentage, mean and standard deviation. The hypotheses of the study have been tested by t- test and F- test (One Way ANOVA). If there were significant difference therefore they would be pursued by multiple comparisons (Least Significant Difference : LSD), and summarized the problems, obstacles and suggestion by analysis and synthesis of data.
The study results revealed that personnel opinions towards the morale for job performance of personnel under center of disaster prevention and mitigation in northeastern of Thailand, overall aspect was at a high level.
When comparing the opinions of personnel towards the Morale for job performance of under center of disaster prevention and mitigation in northeastern of Thailand classified by status : It was found that the gender, age, educational and position of the respondents affected about the morale for job performance of personnel center of disaster prevention and mitigation in northeastern of Thailand was significantly different at 0.05.
The purposes of this study were : 1) to study the morale for Job performance of personnel under center of disaster prevention and mitigation in Northeastern of Thailand, 2) to study the personels opinions towards the Morale for job performance of personnel under center of disaster prevention and mitigation in northeastern of Thailand, by studying the samples of 300 persons. The research tool used questionnaire. The data analysis techniques used frequency, percentage, mean and standard deviation. The hypotheses of the study have been tested by t- test and F- test (One Way ANOVA). If there were significant difference therefore they would be pursued by multiple comparisons (Least Significant Difference : LSD), and summarized the problems, obstacles and suggestion by analysis and synthesis of data. The study results revealed that personnel opinions towards the morale for job performance of personnel under center of disaster prevention and mitigation in northeastern of Thailand, overall aspect was at a high level. When comparing the opinions of personnel towards the Morale for job performance of under center of disaster prevention and mitigation in northeastern of Thailand classified by status : It was found that the gender, age, educational and position of the respondents affected about the morale for job performance of personnel center of disaster prevention and mitigation in northeastern of Thailand was significantly different at 0.05.
Keyword Morale for job, Performance of personnel, Disaster prevention and mitigation