วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย ...

ปีที่ 12 ฉบับที่ 4 เดือน ตุลาคม - ธันวาคม ปี พ.ศ. 2565


ไฟล์ ดาวน์โหลด

     1088716429.pdf

   หน้าที่ 80

กฤษฎาพันธ์ พงษ์บริบูรณ์

CAS1310

ชื่อผู้วิจัย   กฤษฎาพันธ์ พงษ์บริบูรณ์
ชื่อผู้ส่งวารสารร่วม/ที่ปรึกษา สถานะ
ผู้วิจัยร่วม
ประสงค์ ต่อโชติ2, กุหลาบ ปุริสาร3, ธนาศักดิ์ ศิริปุณยนันท์4
วารสารฉบับเต็ม


สาขา

สาขาการศึกษา
ชื่อบทความ (ภาษาไทย) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
ชื่อบทความ (ภาษาอังกฤษ) SUBJECT: THE DEVELOPMENT OF FLIPPED CLASSROOM MODEL USING CLOUD TECHNOLOGY THAT AFFECTS ACADEMIC ACHIEVEMENT. ACADEMIC PROGRAM OF LEARNING MEASUREMENT AND EVALUATION OF STUDENTS IN THE GRADUATE DIPLOMA PROGRAM IN TEACHER PROFESSIONS
บทคัดย่อ ภาษาไทย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลการจัดการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านโดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ รายวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านโดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ รายวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู และ
3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ รายวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ประชากร ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู ชั้นปีที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย จำนวน 180 คน และกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู ชั้นปีที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย จำนวน 120 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านโดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ เนื้อหา 3 บทเรียน จำนวน 4 สัปดาห์ จำนวน 16 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือกจำนวน 60 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.42 ถึง 0.76 ค่าความยากง่ายรายข้อมีค่าตั้งแต่ 0.38 ถึง0.72 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ (KR-20) มีค่าเท่ากับ 0.84 และ 3) แบบวัดระดับความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ รายวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 80.02/82.90 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 และมีค่าประสิทธิผล เท่ากับ 0.7588 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ รายวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โดยเปรียบเทียบผลการเรียนก่อนและหลังเรียน มีค่าเฉลี่ยก่อนเรียน 17.48 และหลังเรียน 49.74 ส่งผล
ให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนหลังเรียนด้วยการจัดการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ รายวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ การจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน, เทคโนโลยีคลาวด์, รายวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ The objectives of this research are: 1) to study the efficiency and effectiveness of management, management, learning, classroom reversal using cloud technology; Academic program measures and evaluates the learning outcomes of students in the Teacher Profession Graduate Certificate Program. 2) To compare learner achievement before and after school with an inverted classroom learning management model using cloud technology. Academic program measures and evaluates the learning outcomes of students in the Teacher Profession Graduate Certificate Program and 3) to study the satisfaction of teacher graduate certificate students with the reverse classroom learning management model, using cloud technology, academics measuring and evaluating learning outcomes. Year 1, Faculty of Education and Liberal Arts, Asian Graduate College, 180 students, and a sample of students in the Graduate Certificate Program in Teacher Professions. Year 1, Faculty of Education and Liberal Arts, Asian Graduate College, 120 students by specific selection. The tools used in the research include: 1) a reverse classroom learning management plan using cloud technology, 3 lessons, 4 weeks, 16 hours, 2) a multiple-choice achievement test of 4 options of 60, a classification power value ranging from 0.42 to 0.76, a difficulty from 0.38 to 0.72, and a confidence value of the entire test (KR-20) equal to 0.84, and 3) a satisfaction measure of the learning management model developed as a 5-level rating scale. The results showed that 1) the efficiency and effectiveness of classroom learning management reversed using cloud technology; It has an efficiency value of 80.02/82.90, higher than the established threshold of 80/80, and an effectiveness value of 0.7588 2) The achievement of learners who learn by manipulating classroom learning reversed using cloud technology. It has a preschool average of 17.48 and after school 49.74. As a result, learner achievement was statistically significantly higher at the level of .01 and 3) Post-school learner satisfaction by managing reverse classroom learning using cloud technology.
The objectives of this research are: 1) to study the efficiency and effectiveness of management, management, learning, classroom reversal using cloud technology; Academic program measures and evaluates the learning outcomes of students in the Teacher Profession Graduate Certificate Program. 2) To compare learner achievement before and after school with an inverted classroom learning management model using cloud technology. Academic program measures and evaluates the learning outcomes of students in the Teacher Profession Graduate Certificate Program and 3) to study the satisfaction of teacher graduate certificate students with the reverse classroom learning management model, using cloud technology, academics measuring and evaluating learning outcomes. Year 1, Faculty of Education and Liberal Arts, Asian Graduate College, 180 students, and a sample of students in the Graduate Certificate Program in Teacher Professions. Year 1, Faculty of Education and Liberal Arts, Asian Graduate College, 120 students by specific selection. The tools used in the research include: 1) a reverse classroom learning management plan using cloud technology, 3 lessons, 4 weeks, 16 hours, 2) a multiple-choice achievement test of 4 options of 60, a classification power value ranging from 0.42 to 0.76, a difficulty from 0.38 to 0.72, and a confidence value of the entire test (KR-20) equal to 0.84, and 3) a satisfaction measure of the learning management model developed as a 5-level rating scale. The results showed that 1) the efficiency and effectiveness of classroom learning management reversed using cloud technology; It has an efficiency value of 80.02/82.90, higher than the established threshold of 80/80, and an effectiveness value of 0.7588 2) The achievement of learners who learn by manipulating classroom learning reversed using cloud technology. It has a preschool average of 17.48 and after school 49.74. As a result, learner achievement was statistically significantly higher at the level of .01 and 3) Post-school learner satisfaction by managing reverse classroom learning using cloud technology.
Keyword Flipped Classroom, Cloud technology, Measurement and Evaluation


วารสารอื่นๆ

กฤษฎาพันธ์ พงษ์บริบูรณ์

4 บทความ
ชื่อ - สกุล วารสาร
ไฟล์
หน้า
กฤษฎาพันธ์ พงษ์บริบูรณ์
CAS1177
ความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริมกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพ ในการให้ความเชื่อมั่นของทีม E-PLC และคุณภาพของผลลัพธ์ทางการศึกษาในสถานศึกษา
86
กฤษฎาพันธ์ พงษ์บริบูรณ์
CAS1310
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
80
กฤษฎาพันธ์ พงษ์บริบูรณ์
CAS1556
ปัจจัยความพร้อมในการเรียนออนไลน์ที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ทางการเรียนออนไลน์ของนักศึกษา วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย จังหวัดขอนแก่น
128
กฤษฎาพันธ์ พงษ์บริบูรณ์
CAS1609
ความต้องการของนักศึกษาและอาจารย์ ในการปรับปรุงหลักสูตรศึกษาทั่วไป ของวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
174