วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
ปีที่ 10 ฉบับที่ 4 เดือน ตุลาคม - ธันวาคม ปี พ.ศ. 2563

ไฟล์ ดาวน์โหลด

     1613382138-3-ED030-T(24-28).pdf

  

พิสิฐ เทพไกรวัล

CAS1013

ชื่อผู้วิจัย   พิสิฐ เทพไกรวัล
ชื่อผู้ส่งวารสารร่วม/ที่ปรึกษา สถานะ
ผู้วิจัยร่วม
พนิตตา วรนารถ
วารสารฉบับเต็ม


สาขา

สาขาการศึกษา
ชื่อบทความ (ภาษาไทย) ผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้ตามแนวคิดวอลดอร์ฟ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ด้านศิลปะของเด็กปฐมวัย
ชื่อบทความ (ภาษาอังกฤษ)
บทคัดย่อ ภาษาไทย งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ด้านศิลปะของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์เรียนรู้ตามแนวคิดวอลดอร์ฟ กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนบ้านหนองตาไก้หนองเม็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ตามแนวคิดวอลดอร์ฟ แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ด้านศิลปะรูปแบบ ก ของทอร์แรนซ์ (Torrance Test of Creative Thinking Figural Form A) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ด้านศิลปะของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการณ์จัดประสบการณ์เรียนรู้ คือ วิลคอซัน ซายน์ แรงค์ (Wilcoxon Signed - Ranks Test)
ผลการวิจัยพบว่า
ความคิดสร้างสรรค์ด้านศิลปะของเด็กปฐมวัยหลังการจัดประสบการณ์เรียนรู้ตามแนวคิดวอลดอร์ฟสูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
คำสำคัญ
บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ The objective of this research was to compare the creative thinking in art of early childhood children before and after the use of Waldorf learning experience model. The target group for the study consisted of 19 children in the first semester of the 2019 academic year from Bannongtakainongmek School under the Office of Primary Education Service Area 1 Khon Kaen Province. The instrument used included learning and experience plans based on Waldorf’s concept and Torrance test of creative thinking Figural Form A. The statistic for comparison of early childhood children’s art creative thinking before and after the application of the learning model was Wilcoxon Sign Rank Test.
The finding of the study revealed that early childhood children showed a significantly higher level of art creative thinking after they had Waldorf learning experience model at the .01 level.
The objective of this research was to compare the creative thinking in art of early childhood children before and after the use of Waldorf learning experience model. The target group for the study consisted of 19 children in the first semester of the 2019 academic year from Bannongtakainongmek School under the Office of Primary Education Service Area 1 Khon Kaen Province. The instrument used included learning and experience plans based on Waldorf’s concept and Torrance test of creative thinking Figural Form A. The statistic for comparison of early childhood children’s art creative thinking before and after the application of the learning model was Wilcoxon Sign Rank Test. The finding of the study revealed that early childhood children showed a significantly higher level of art creative thinking after they had Waldorf learning experience model at the .01 level.
Keyword Waldorf learning experience model , the creative thinking in art