วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
ปีที่ 10 ฉบับที่ 4 เดือน ตุลาคม - ธันวาคม ปี พ.ศ. 2563

ไฟล์ ดาวน์โหลด

     1613382387-11-ED059-T(92-109).pdf

  

กุหลาบ ปุริสาร

CAS1021

ชื่อผู้วิจัย   กุหลาบ ปุริสาร
ชื่อผู้ส่งวารสารร่วม/ที่ปรึกษา สถานะ
ผู้วิจัยร่วม
อาทิตย์ ฉัตรชัยพลรัตน์2, กุสุมา ดำรงชัย3, อรนุช ยังเจริญ4
วารสารฉบับเต็ม


สาขา

สาขาการศึกษา
ชื่อบทความ (ภาษาไทย) การพัฒนารูปแบบวิธีสอน เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน ด้านความคิดสร้างสรรค์ ของครูผู้สอน ตามโครงการสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง
ชื่อบทความ (ภาษาอังกฤษ)
บทคัดย่อ ภาษาไทย การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาครูผู้สอนด้านเทคนิควิธีสอนและรูปแบบการสอน เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนด้านความคิดสร้างสรรค์ และเพื่อยกระดับมาตรฐานความรู้ด้านทักษะวิธีการสอน เพื่อพัฒนาผู้เรียนด้านความคิดสร้างสรรค์ของครูผู้สอน ระดับมัธยมศึกษา กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูผู้สอน โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม จำนวน 150 คน โรงเรียนชุมแพศึกษา จำนวน 50 คน โรงเรียนบ้านไผ่ จำนวน 60 คน โรงเรียนพล จำนวน 90 คน และโรงเรียนไทยรัฐวิทยา84 (บ้านสำราญเพี้ยฟาน) จำนวน 15 คน รวมทั้งหมดจำนวน 365 คน จำนวน 5 โรงเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. หลังการฝึกอบรมด้วยวิธีการประชุมปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ครูผู้สอนทั้ง 5 โรงเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย 80% ได้มีการพัฒนาเทคนิควิธีการสอนรูปแบบการสอน เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านความคิดสร้างสรรค์ในหลายรูปแบบ ตามธรรมชาติวิชาและกลุ่มสาระการเรียนรู้ เช่น PBL ,BBL ,RBL,STEM Education, PPPs, วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ STAD, การสอนแบบซินเนคติกส์ (Synectics) เป็นต้น เพื่อให้สอดคล้องกับ ยุคดิจิทัลในศตวรรษที่ 21 สรุปโดยภาพรวม ครูสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ((x ) ̅= 4.09)
ส่วนด้านการฝึกปฏิบัติการเขียนแผนการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การทำวิจัยในชั้นเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (x ̅ = 3.98)
2. มาตรฐานความรู้ด้านทักษะวิธีสอน เพื่อพัฒนาศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ของครูผู้สอนโดยรวมอยู่ใน
ระดับมาก (x ̅ = 4.02) การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการรูปแบบวิธีสอนค่าเฉลี่ยสูงสุด (x ̅ =4.07) ส่วนการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนในระยะการพัฒนาต่อไป มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ((x ) ̅=3.80)
สรุปผลกระทบจากโครงการสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง (U-School Mentoring) ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทำให้เกิดนวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะวิธีสอนด้านความคิดสร้างสรรค์หลากหลายรูปแบบ
ในสถานศึกษา ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อนักเรียน ส่วนสถาบันอุดมศึกษา คณาจารย์ที่เป็นวิทยากร ได้คู่มือเพื่อพัฒนาครูด้านรูปแบบวิธีสอน เกิดผลงานวิจัยและผลงานวิชาการที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาได้อย่างแท้จริง
คำสำคัญ
บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ This participatory action research aimed to develop technical teaching methods and teaching styles for the development of creative thinking of instructional learners and to enhance their knowledge of methodological skills of teachers for developing of learners. create ideas. The purposive sampling were teachers of Muangphonpittayakom School, 150 people, Chumphaesuksa School, 60 people, Ban Phai School 60 people, Phon School, 40 people and Thairathwittaya 84 School (Ban Samran Piafan), 15 people, totaling 365 people, totaling 5 schools, collected by using questionnaire , observation, and interview form. The statistics used to examine the data were percentage, mean, standard deviation, and qualitative data analysis by descriptive analysis.
The research results were found that:
1. After the participatory training, 80% of the teachers of the five schools in the purposive group trained, the teaching methods for the development of creative thinking in many ways, Following the nature and content of the subjects such as teaching methods PBL, BBL, RBL, STEM Education, PPPs, Project Based Learning, STAD, Synectics to be in line with the 21st era. To improve the quality of the learners to have quality creative thinking (x ̅ = 4.09) at a high level, and the how to writing report of classroom research were at the lowest level (x ̅ = 3.98).
2. The standard of technical teaching methods and teaching styles for the development of creative thinking of instructional learners and to enhance their knowledge of methodological skills of teachers for developing of learners. at a high level ((x ) ̅= 4.02) as a whole Integrated learning management design, teaching method model (x ̅ = 4.07) at a high level, classroom research report writing in the next development phase were at the lowest level (x ̅ = 3.80).
The impact of the project training of the U-School Mentoring of the Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation can make the innovation on teaching methods in the academy that will affected the creative thinking students encouragement. The guidelines to develop teachers in teaching methods, research and academic works that can be utilized for the real benefit of improving the quality of education in educational institutions.
This participatory action research aimed to develop technical teaching methods and teaching styles for the development of creative thinking of instructional learners and to enhance their knowledge of methodological skills of teachers for developing of learners. create ideas. The purposive sampling were teachers of Muangphonpittayakom School, 150 people, Chumphaesuksa School, 60 people, Ban Phai School 60 people, Phon School, 40 people and Thairathwittaya 84 School (Ban Samran Piafan), 15 people, totaling 365 people, totaling 5 schools, collected by using questionnaire , observation, and interview form. The statistics used to examine the data were percentage, mean, standard deviation, and qualitative data analysis by descriptive analysis. The research results were found that: 1. After the participatory training, 80% of the teachers of the five schools in the purposive group trained, the teaching methods for the development of creative thinking in many ways, Following the nature and content of the subjects such as teaching methods PBL, BBL, RBL, STEM Education, PPPs, Project Based Learning, STAD, Synectics to be in line with the 21st era. To improve the quality of the learners to have quality creative thinking (x ̅ = 4.09) at a high level, and the how to writing report of classroom research were at the lowest level (x ̅ = 3.98). 2. The standard of technical teaching methods and teaching styles for the development of creative thinking of instructional learners and to enhance their knowledge of methodological skills of teachers for developing of learners. at a high level ((x ) ̅= 4.02) as a whole Integrated learning management design, teaching method model (x ̅ = 4.07) at a high level, classroom research report writing in the next development phase were at the lowest level (x ̅ = 3.80). The impact of the project training of the U-School Mentoring of the Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation can make the innovation on teaching methods in the academy that will affected the creative thinking students encouragement. The guidelines to develop teachers in teaching methods, research and academic works that can be utilized for the real benefit of improving the quality of education in educational institutions.
Keyword teaching methods, Creative Thinking, U-School Mentoring


วารสารอื่นๆ

กุหลาบ ปุริสาร

11 บทความ
ชื่อ - สกุล วารสาร
ไฟล์
หน้า
กุหลาบ ปุริสาร
CAS315
การเสริมสร้างวินัยต่อตนเองของนักเรียน โรงเรียนหนองขามพิทยาคม อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น
26
กุหลาบ ปุริสาร
CAS341
ภาวะผู้นำที่ทรงพลัง (Resonant Leadership)
7
กุหลาบ ปุริสาร
CAS371
วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Methodology)
8
กุหลาบ ปุริสาร
CAS406
รูปแบบการบริหารเครือข่ายพุทธบริษัทที่มีประสิทธิผล และปรากฏการณ์การจัดงานสัมมนาพระธรรมวินัย ครั้งที่ 18 ณ วัดสว่างโพธิ์ชัย จ.มหาสารคาม ปี 2557
12
ดร.กุหลาบ ปุริสาร
CAS483
ภาวะผู้นำที่เป็นเลิศ : กรณีศึกษาคุณหมอแมกไซไซ ศาสตรจารย์ ดร.นายแพทย์กระแส ชนะวงษ์
19
กุหลาบ ปุริสาร
CAS771
ภาวะผู้นาที่มีประสิทธิผลในศตวรรษที่ 21 ของ “คุณหมอแมกไซไซ”
กุหลาบ ปุริสาร
CAS806
ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลในศตวรรษที่ 21 ของ “คุณหมอแมกไซไซ”
136
กุหลาบ ปุริสาร
CAS894
รูปแบบการพัฒนาชุมชนหมู่บ้านศีล 5 แผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง และหมู่บ้านประเพณีปลอดอบายมุข : กรณีศึกษาบ้านเมืองเพ็ง ต.กู่ทอง อ.เชียงยีน จ.มหาสารคาม
14
กุหลาบ ปุริสาร
CAS970
ภาวะผู้นำที่เป็นเลิศของผู้บริหารทางการศึกษาในยุค New Normal
17
กุหลาบ ปุริสาร
CAS1021
การพัฒนารูปแบบวิธีสอน เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน ด้านความคิดสร้างสรรค์ ของครูผู้สอน ตามโครงการสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง
92
กุหลาบ ปุริสาร
CAS1306
การบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดขอนแก่น
35