วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม - มีนาคม ปี พ.ศ. 2564

ไฟล์ ดาวน์โหลด

     1624251231-13(109-115).pdf

  

ปิยะณัฐ ตราชู

CAS1058

ชื่อผู้วิจัย   ปิยะณัฐ ตราชู
ชื่อผู้ส่งวารสารร่วม/ที่ปรึกษา สถานะ
ผู้วิจัยร่วม
1, พวงทอง เพชรโทน2, คณิศร จี้กระโทก3
วารสารฉบับเต็ม


สาขา

สาขาการศึกษา
ชื่อบทความ (ภาษาไทย) ผลของการเรียนตามแนวคิด Big Six ที่มีต่อทักษะการรู้สารสนเทศ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อบทความ (ภาษาอังกฤษ)
บทคัดย่อ ภาษาไทย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะการรู้สารสนเทศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้เรียนตามแนวคิด Big Six ก่อนเรียนและหลังเรียน เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้เรียนตามแนวคิด Big Six ก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในสังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 21 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม แบบแผนของการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 8 แผน แบบวัดทักษะการรู้สารสนเทศ และแบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การดำเนินการทดลองใช้ระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระ และการทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว ผลการวิจัยพบว่า ทักษะการรู้สารสนเทศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้เรียนตามแนวคิด Big Six ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 10.00 คิดเป็นร้อยละ 41.07 และหลังเรียนนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 21.76 คิดเป็นร้อยละ 90.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 80 และทักษะการรู้สารสนเทศหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน การคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้เรียนตามแนวคิด Big Six ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.23 คิดเป็นร้อยละ 39.52 และหลังเรียนนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 17.42 คิดเป็นร้อยละ 87.14 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 80 และการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
คำสำคัญ
บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ and critical thinking before and after learning through the Big Six approach. the research samples consisted of 21 prathomsuksa 5 school under the Office of the private education commission, Maha sarakham province. They were selected by cluster random sampling. The research instruments were 8 lesson plans, a information literacy test and a critical thinking test. The trial was conducted for 8 weeks, 2 hours per week, for a total of 16 hours. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation and dependent sample t-test. The results of this research were as follows: The students' Information literacy skills before the instruction were 10.00 or 41.07 percent, after the instruction by the Big Six approach were 21.76 or 90.67 percent by which was higher than the set criterion of 80 percent and the mean after studying was higher than before studying The students' critical thinking before the instruction were 8.23 or 39.52 percent, after the instruction by the Big Six approach were 17.42 or 87.14 percent by which was higher than the set criterion of 80 percent and the mean after studying was higher than before studying.
and critical thinking before and after learning through the Big Six approach. the research samples consisted of 21 prathomsuksa 5 school under the Office of the private education commission, Maha sarakham province. They were selected by cluster random sampling. The research instruments were 8 lesson plans, a information literacy test and a critical thinking test. The trial was conducted for 8 weeks, 2 hours per week, for a total of 16 hours. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation and dependent sample t-test. The results of this research were as follows: The students' Information literacy skills before the instruction were 10.00 or 41.07 percent, after the instruction by the Big Six approach were 21.76 or 90.67 percent by which was higher than the set criterion of 80 percent and the mean after studying was higher than before studying The students' critical thinking before the instruction were 8.23 or 39.52 percent, after the instruction by the Big Six approach were 17.42 or 87.14 percent by which was higher than the set criterion of 80 percent and the mean after studying was higher than before studying.
Keyword Big Six Approach, Information Literacy Skills, Critical Thinking