วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 เดือน กรกฎาคม - กันยายน ปี พ.ศ. 2567

ไฟล์ ดาวน์โหลด

     1821781950.pdf

  

รัตติกาญจน์ ภูษิต

CAS1771

ชื่อผู้วิจัย   รัตติกาญจน์ ภูษิต
ชื่อผู้ส่งวารสารร่วม/ที่ปรึกษา สถานะ
ผู้วิจัยร่วม
-
วารสารฉบับเต็ม


สาขา

สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
ชื่อบทความ (ภาษาไทย) การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนสร้างสรรค์บนพื้นฐานทุนวัฒนธรรมในเครือข่ายเศรษฐกิจระดับภาคเหนือ
ชื่อบทความ (ภาษาอังกฤษ) THE ECONOMIC DEVELOPMENT OF CREATIVE COMMUNITY BASED ON CULTURAL CAPITAL IN THE NORTHERN ECONOMIC NETWORK
บทคัดย่อ ภาษาไทย การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยผลักดันเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อกิจกรรม ในกระบวนการเศรษฐกิจชุมชนสร้างสรรค์บนพื้นฐานทุนวัฒนธรรมในเครือข่ายเศรษฐกิจระดับภาคเหนือ (2) เพื่อศึกษากิจกรรมในกระบวนการเศรษฐกิจชุมชนสร้างสรรค์บนพื้นฐานทุนวัฒนธรรมที่ส่งผลตอการจัดสรรกำไรสวนเกินของชุมชนในเครือข่ายเศรษฐกิจระดับภาคเหนือ (3) เพื่อศึกษาปัจจัยผลักดันเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการจัดสรรกำไรสวนเกินของชุมชนในเครือข่ายเศรษฐกิจระดับภาคเหนือ (4) เพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนสร้างสรรค์บนพื้นฐานทุนวัฒนธรรม
ในเครือข่ายเศรษฐกิจระดับภาคเหนือ ซึ่งได้ทำการศึกษา เชิงปริมาณ ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดน่าน จังหวัดลำปาง จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 500 คน จังหวัดละ 100 คน และใช้วิธี
การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ซึ่งมีผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยผลักดันเศรษฐกิจชุมชน ได้แก่ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนากลุ่ม/ชุมชน และการพัฒนาพื้นฐานทางกายภาพของชุมชนส่งผลเชิงบวกต่อกิจกรรมในกระบวนการเศรษฐกิจชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และปัจจัยผลักดันเศรษฐกิจชุมชน ด้านการพัฒนาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของชุมชนส่งผลเชิงลบต่อกิจกรรมในกระบวนการเศรษฐกิจชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 (2) กิจกรรมในกระบวนการเศรษฐกิจชุมชน ได้แก่
การผลิต การบริโภค และการแปรรูปส่งผล เชิงบวกต่อการจัดสรรกำไรส่วนเกินของชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และกิจกรรมในกระบวนการเศรษฐกิจชุมชน ด้านการตลาดส่งผลเชิงลบต่อการจัดสรรกำไรส่วนเกินของชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (3) ปัจจัยผลักดันเศรษฐกิจชุมชน ได้แก่ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนากลุ่ม/ชุมชน และการพัฒนาพื้นฐานทางกายภาพของชุมชนส่งผลเชิงบวกต่อการจัดสรรกำไรส่วนเกินของชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และปัจจัยผลักดันเศรษฐกิจชุมชน ด้านการพัฒนาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของชุมชนส่งผลเชิงลบต่อการจัดสรรกำไรส่วนเกินของชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01 (4) แนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนสร้างสรรค์บนพื้นฐานทุนวัฒนธรรมในเครือข่ายเศรษฐกิจระดับภาคเหนือ ควรใช้พื้นที่ชุมชนเป็นตัวตั้ง ในการจัดการด้านปัจจัยผลักดันเศรษฐกิจชุมชน โดยเชื่อมโยงกับกิจกรรมกระบวนการเศรษฐกิจชุมชนและการจัดสรรกำไรส่วนเกินของชุมชนให้เป็นกลไกกระบวนการในเรื่องการบริหารจัดการ มีการพัฒนากิจกรรมกระบวนการเศรษฐกิจชุมชน โดยจัดทำเป็น องค์ความรู้ของชุมชนเพื่อสร้างนวัตกรรมในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและยกระดับชุมชนเดิมให้เข้มแข็ง ให้เชื่อมโยงกับการจัดสรรกำไรส่วนเกินของชุมชน มีการจัดแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน เพื่อการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ และเชื่อมโยงแผนยุทธศาสตร์ของชุมชนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนสร้างสรรค์บนพื้นฐานทุนวัฒนธรรมได้อย่างยั่งยืน
คำสำคัญ เศรษฐกิจชุมชนสร้างสรรค์; ทุนวัฒนธรรม; เครือข่ายเศรษฐกิจระดับภาคเหนือ
บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ -
-
Keyword Creative Community Economy; Cultural Capital; Northern Economic Network