ไฟล์ ดาวน์โหลด |
412423142.pdf |
|||||||||
|
ชื่อผู้วิจัย สุจิตราลักษณ์ เสาวกูล
|
|||||||||
บทคัดย่อ ภาษาไทย |
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ตามการรับรู้ของครู 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ตามการรับรู้ของครู จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์การปฏิบัติงาน และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 จำนวน 327 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซีและมอร์แกน (Krejcie & Morgan) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเป็นแบบสอบถามภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา มีลักษณะเป็นคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามแบบของลิเคิร์ท (Likert Scale) ได้ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือได้ค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบสอบถามอยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 และ ค่าความเชื่อมั่นโดยรวมรวมทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ t – test, F – test และเมื่อพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ทำการเปรียบเทียบตามวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffé’s Method) ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ตามการรับรู้ของครู โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการมีความยืดหยุ่นและปรับตัว ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ด้านการทำงานเป็นทีม และด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ ตามลำดับ 2. การเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ตามการรับรู้ของครู จำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์การปฏิบัติงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา ไม่แตกต่างกัน |
|||||||||
คำสำคัญ | ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา | |||||||||
บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ | The purposes of this research were 1) to study the levels of creative leadership of school administrators under the Buriram Primary Educational Service Area Office 3 and 2) to compare the creative leadership of school administrators under the Buriram Primary Educational Service Area Office 3 related to educational level, experience and school sizes. The samples based on Krejcie & Morgan were 327 teachers under the Buriram Primary Educational Service Area Office 3. The instrument was a five point scale questionnaire about of creative leadership of school administrators with the IOC ranging from0.67 to 1.00, the overall reliability at 0.95. Percentage, mean, standard deviation, t – test, F – test and Scheffe’s Method were employed for data analysis. The findings were as follows: 1. The creative leadership of school administrators under the Buriram Primary Educational Service Area Office 3 in overall and each aspect was at a high level. The highest with the mean score was flexibility and adaptation, followed by vision, individuality, teamwork and creative respectively. 2. The comparison of creative leadership of school administrators under the Buriram Primary Educational Service Area Office 3 as a whole related to educational level and experience was a significant difference at 0.05. Whereas there was no difference in the overall and each aspect related to school sizes. The purposes of this research were 1) to study the levels of creative leadership of school administrators under the Buriram Primary Educational Service Area Office 3 and 2) to compare the creative leadership of school administrators under the Buriram Primary Educational Service Area Office 3 related to educational level, experience and school sizes. The samples based on Krejcie & Morgan were 327 teachers under the Buriram Primary Educational Service Area Office 3. The instrument was a five point scale questionnaire about of creative leadership of school administrators with the IOC ranging from0.67 to 1.00, the overall reliability at 0.95. Percentage, mean, standard deviation, t – test, F – test and Scheffe’s Method were employed for data analysis.
The findings were as follows:
1. The creative leadership of school administrators under the Buriram Primary Educational Service Area Office 3 in overall and each aspect was at a high level. The highest with the mean score was flexibility and adaptation, followed by vision, individuality, teamwork and creative respectively.
2. The comparison of creative leadership of school administrators under the Buriram Primary Educational Service Area Office 3 as a whole related to educational level and experience was a significant difference at 0.05. Whereas there was no difference in the overall and each aspect related to school sizes.
|
|||||||||
Keyword | Creative Leadership of School Administrators | |||||||||
สุจิตราลักษณ์ เสาวกูล
1 บทความชื่อ - สกุล | วารสาร | ไฟล์ |
หน้า |
|
---|---|---|---|---|
|
สุจิตราลักษณ์ เสาวกูล CAS1304 |
การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ตามการรับรู้ของครู |