ไฟล์ ดาวน์โหลด |
1505123270-pp5.pdf |
|||||||||
|
ชื่อผู้วิจัย วรากร ตันฑนะเทวินทร์
|
|||||||||
บทคัดย่อ ภาษาไทย |
รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหาร โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 5 The Causal Relation Model of the Success Indicator for Management Excellence Small School under Nakhon Ratchasima Primary Educational Service Area Office 5 วรากร ตันฑนะเทวินทร์1 สมเจตน์ ภูศรี2 สุเทพ เมยไธสง3 เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร4 ปรีชา ประเทพา5 บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อสร้างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 5 2)เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 5 กับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ3) เพื่อประเมินและยืนยันรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 5 ประชากรที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 128 โรงเรียน สังกัดสำนักเขตพื้นที่ประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 5. โรงเรียนที่ให้ข้อมูลในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 5 จำนวน 117 โรงเรียน ตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ย สูงสุดที่ 4.61 และมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดที่ 3.33 ซึ่งผ่านเกณฑ์ค่าเฉลี่ยที่ตั้งไว้ 3.00 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D.อยู่ระหว่าง 0.30 – 0.99 ซึ่งผ่าน คำสำคัญ : ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก 1 นักศึกษาปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารจัดการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม 2 รองศาสตราจารย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม 3 รองศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย 4 รองศาสตราจารย์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 5 ศาสตราจารย์ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม Abstracts The objectives of the research were 1) to create the causal relation model of the success Indicator for Management Excellence of small school under Nakhon Ratchasima Primary Educational Service Area Office 5 2) To verify the correlation between the causal relation model of the success Indicator for achievement management of small school under Nakhon Ratchasima Primary Educational Service Area Office 5 and the empirical data and 3) To evaluate and confirm the causal relation model of the success Indicator for Management Excellence of small school under Nakhon Ratchasima Primary Educational Service Area Office 5. A population of this research includes the total of 128 small schools in under Nakhon Ratchasima Primary Educational Service Area Office 5. The data were obtained from the management as well as teacher of the selected 117 small schools under Nakhon Ratchasima Primary Educational Service Area Office 5. The maximum and minimum of arithmetic mean were 4.61 and 3.33 higher than the determined criteria at 3.00 as well as standard deviation which was in the range of 0.30-0.99. Keywords : the Success Indicator for Management Excellence Small School บทนำ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกปัจจุบันและความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้สังคมโลกมีการติดต่อสื่อสารอย่างไร้พรมแดน ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผสมผสานกับสภาพปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมตกอยู่ในภาวะวิกฤติ การแก้ไขปัญหาหรือการพัฒนาที่ยั่งยืนมิใช่การพัฒนาที่เน้นความสำคัญเฉพาะด้านเศรษฐกิจให้เจริญแล้วจะผลต่อการพัฒนาด้านอื่นๆ ให้เจริญงอกงามตามไปด้วย การพัฒนาที่ยั่งยืน จำเป็นต้องมีการพัฒนาแบบ บูรณาการซึ่งต้องเน้นที่ตัวคนไทยให้มีคุณภาพและสมรรถนะให้มีความสามารถและมีความคิดสร้างสรรค์ สิ่งสำคัญที่จะสร้างคุณภาพของคนในชาติ คือการศึกษา ปัจจุบันมีสถานศึกษาในสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีจำนวน 32,879 แห่ง เป็นโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนต่ำกว่า 120 คน 10,877 แห่ง และโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนต่ำกว่า 60 คน ถึง 1,766 แห่ง ซึ่งถือว่าเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขนาดเล็กดังกล่าวเหล่านี้ ประสบปัญหาในการจัดการเรียนการสอน จนส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา ซึ่งจะต้องเร่งพัฒนาอย่างเร่งด่วน คำถามงานวิจัย 1. ปัจจัยอะไรที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 5 2. รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นที่ส่งผลต่อความสำเร็จ มีลักษณะเป็นอย่างไร วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อสร้างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 5 2. เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 5 กับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3. เพื่อประเมินและยืนยันรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 5 ขอบเขตการวิจัย 1. ขอบเขตของเนื้อหา การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 5 ประกอบด้วยปัจจัย ปัจจัยด้านการบริหารจัดการการศึกษาในองค์กร ปัจจัยด้านประสิทธิผล และปัจจัยด้านประกันคุณภาพและสร้างแบบจำลองความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นครราชสีมา เขต 5. 2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน โรงเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 5 จำนวน 6 อำเภอ ทีเป็นโรงเรียนขนาดเล็กในเขตพื้นที่ จำนวน 117 โรงเรียน จาก 128 โรงเรียน จากการสุ่มตัวอย่างแบบ แบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) 3. ตัวแปรที่ศึกษา 3.1 ตัวแปรแฝงภายนอก 3.1.1 ปัจจัยด้านการบริหารจัดการการศึกษาในองค์กร 3.2 ตัวแปรแฝงภายใน 3.2.1 ปัจจัยด้านประสิทธิผล 3.2.2 ปัจจัยด้านประกันคุณภาพ 3.2.3 ความสำเร็จองค์กร กรอบแนวคิดการวิจัย ความสำเร็จในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กได้ศึกษาแนวคิดของนักการศึกษาที่กล่าวถึงความสำเร็จในการบริหารโดยมีปัจจัย ดังนี้คือ ปัจจัยด้านการบริหารจัดการการศึกษาในองค์กร ปัจจัยประกันคุณภาพ ปัจจัยด้านประสิทธิผล ความสำเร็จขององค์กร ของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยเรื่องรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ตรวจสอบความสอดคล้อง และ ประเมินและยืนยันรูปแบบ การเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัย 1. การสร้างและพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการ บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 5 จากการศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการตรวจสอบเนื้อหาของตัวชี้วัดที่นำไปใช้เป็นข้อคำถามของผู้เชี่ยวชาญ ด้วยการวิเคราะห์หาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of consistency) และปรับปรุงตามคำแนะนำของผู้เชียวชาญ ทำไห้ตัวชี้วัดที่ได้มีความน่าเชื่อถือและเหมาะสม เพื่อนำไปออกแบบสอบถามเพื่อวิเคราะห์ทางสถิติ มีตังชี้วัดทั้งสิน 23 ตัว โดยได้ค่าความสอดคล้องระหว่าง 0.60 ถึง 1.00 ซึ่งถือว่าค่าที่ได้เป็นตัวชี้วัด รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 5 และนำแบบสอบถามไปทดลองใช้ (Try out) ผู้บริหารโรงเรียนและครู จำนวน 31 คน เพื่อหาความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามด้วยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s alpha co – efficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 จากนั้นผู้วิจัยนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลมานำเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์เพื่อพิจารณา ได้ตัวชี้วัดที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ 23 ตัวชี้วัด 2. สรุปผลจากการสอบถามความเป็นไปได้และความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิง สาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 5 จากข้อมูลที่ได้จากผู้บริหารโรงเรียนและครู โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครู จำนวน 117 โรงเรียน 761 คน ชาย 304 คน หญิง 457 คน มีปัจจัย 4 ปัจจัย ปัจจัยภายนอก 1 ตัวแปร คือ ปัจจัยการบริหารจัดการการศึกษาในองค์กร ประกอบด้วยตัวชี้วัด 1) ครูปฏิบัติตามหน้าที่ 2) ผู้บริหารปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ 3) คณะกรรมการสถานศึกษาปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ 4) สถานศึกษามีการจัดหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ 5) สถานศึกษามีการจัดการสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม 6) สถานศึกษามีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 7) การปฏิบัติตามนโยบายของสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานและหน่วยงานต้นสังกัด X = 3.98 , S.D. = 0.54 , X2 = 14.437 , df = 9 , P-value = 0.0000 , CFI = 0.996 , TLI = 0.991 , RMSEA = 0.071 , SRMR = 0.038 ปัจจัยภายใน 3 ตัวแปร คือ ปัจจัยด้านประกันคุณภาพ ประกอบด้วยตัวชี้วัด 1) มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน 2) มาตรฐานด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 3) มาตรฐานด้านการปลูกจิตสำนึกและการเสริมสร้างการเป็นพลไทยและพลเมืองโลก 4) ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา 5) มาตรฐานด้านอัตลักษณ์ของสถานศึกษา 6) มาตรฐานด้านมาตรการส่งเสริม X = 4.07 , S.D. = 0.58 , X2 = 1.368 , df = 1 , P-value = 0.2422 , CFI = 1.000 , TLI = 0.999 , RMSEA = 0.022 , SRMR = 0.011 ปัจจัยด้านประสิทธิผล ประกอบด้วยตัวชี้วัด 1) กลยุทธ์ 2) โครงสร้างองค์กร 3) เทคโนโลยี 4) วัฒนธรรม 5) สภาพแวดล้อม X = 4.03 , S.D. = 0.63 , X2 = 49.631 , df = 14.377 , P-value = 0.0000 , CFI = 0.910 , TLI = 0.930 , RMSEA = 0.045 , SRMR = 0.422 ความสำเร็จองค์กร ประกอบด้วยตัวชี้วัด 1) พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหาร 2) การมีส่วนร่วมของชุมชน 3) ความผูกพันองค์กร 4) บรรยากาศองค์กร 5) ผลงานขององค์กร X = 4.05 , S.D. = 0.55 , X2 = 6.695 , df = 2 , P-value = 0.0352 , CFI = 0.999 , TLI = 0.994 , RMSEA = 0.057 , SRMR = 0.014 3. เพื่อประเมินและยืนยันรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลของการบริหาร โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 5 ในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความ สำเร็จของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 5 ผู้วิจัยนำเสนอผลการประเมินเชิงยืนยันรูปแบบจากประชุมสัมมนาอิงผู้ทรงคุณวุฒิ (Connoisseurship) 3.1 มาตรฐานด้านความเหมาะสม (Propriety Standards) 3.2 มาตรฐานด้านความเป็นไปได้ (Feasibility Standards) 3.3 มาตรฐานด้านความถูกต้อง (Accuracy Standards) 3.4 มาตรฐานด้านความเป็นประโยชน์ (Utility Standards) โดยภาพรวมพบว่าผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นไปในทางบวก ในความเหมาะสมของ รูปแบบความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 5 ซึ่งได้ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากที่สุด คือค่าเฉลี่ยมากกว่าค่าคะแนน 4.50 จึงสรุปได้ว่าโมเดลที่ออกแบบ มีความน่าเชื่อถือที่จะนำไปใช้ได้จริง อภิปรายผล จากการศึกษาวิจัยเรื่องรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 5 มีผลวิเคราะห์ข้อมูลที่ควรนำมาอภิปราย ดังนี้ ปัจจัยด้านการบริหารจัดการการศึกษาในองค์กร ในผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยการบริหารจัดการการศึกษาในองค์กร มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการบริหาร แสดงให้เห็นว่าการบริหารจะให้เกิดประสิทธิผลนั้น ต้องศึกษาตัวชี้วัดเป็นองค์ประกอบการพัฒนา ครูปฏิบัติตามหน้าที่ ผู้บริหารปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ คณะกรรมการสถานศึกษาปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ สถานศึกษามีการจัดหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ สถานศึกษามีการจัดการสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม สถานศึกษามีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา การปฏิบัติตามนโยบายของสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานและหน่วยงานต้นสังกัด สอดคล้องกับ บุณยกุล หัตถกี (2556: 213-233) สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (2554: 121) รางวัลคุณภาพแห่งยุโรป (2553: 123) ทุกคนในองค์กรต้องรู้จักหน้าที่ ต้องมีวิธีการที่กระทำเพื่อให้องค์กรมีความยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับวิธีการเสริมสร้างทักษะความเป็นผู้นำ การมีส่วนร่วมเรียนรู้ระดับองค์กรพัฒนาผู้นำสู่อนาคต วัดผลการดำเนินการในระดับองค์กร และสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมให้เกิดการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมและผลการดำเนินการที่ดี ผู้อำนวยการ ครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องมีสภาวะผู้นำ ค่านิยม การมีส่วนร่วมของชุมชนและสังคม และยังสอดคล้อง Kuptanond (2002) ผู้นำที่มีประสิทธิผลคือผู้บริหารรู้จักหน้าที่ มีความสามารถในการบริหาร มีการสัดสินใจโดยเปิดโอกาสให้ผู้อื่นมีส่วนร่วม ธร สุนทรายุทธ (2551: 457) ความสามารถในการบริหาร ผู้อำนวยการ ครู บุคลากร ต้องรู้จักหน้าที่ ในการกำกับติดตาม ตรวจสอบ ปรับปรุงพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และสร้างองค์กรการมีส่วนร่วมเพื่อร่วมกันพัฒนาอย่างยั่งยืนสุรเสน ทั่งทอง (2551) การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กนับว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะจากการประเมินภายนอกของ สมศ. จะพบว่าโรงเรียนขนาดเล็กจำนวนมาก ยังไม่ผ่านการประเมินมาตรฐาน ทั้งนี้เพราะโรงเรียนขนาดเล็กได้รับงบประมาณน้อย ขาดแคลนอัตรากำลัง และบางครั้งกลายเป็นโรงเรียนฝึกการบริหารของผู้บริหารมือใหม่ป้ายแดง อีกประการหนึ่งคือทักษะการบริหารส่งผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน และความเครียดของผู้ปฏิบัติงานในโรงเรียน ผู้บริหารจึงต้องมีทักษะการบริหารที่ดี โรงเรียนขนาดเล็กส่วนใหญ่จะประสบปัญหาการขาดแคลนครูและบุคลากรทางการศึกษา งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ อาคารเรียน อาคารประกอบ เครื่องช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดการศึกษา การกระจายอำนาจ เหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหาหรือเกิดวิกฤติคุณภาพเป็นทวีคูณ และยังมีการบริหารจัดการแบบเดิม ๆ ในโรงเรียนขนาดเล็กที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของหลักสูตรหรือตอบสนองต่อหลักการของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้ ในปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีโรงเรียนในสังกัด 32,879 แห่งเป็นโรงเรียนที่มีนักเรียน ตั้งแต่ 120 คน ลงมา 10,877 แห่ง ในจำนวนนี้ เป็นโรงเรียนขนาดเล็กมากคือ มีนักเรียนตั้งแต่ 60 คนลงมา รวม 1,766 แห่ง ซึ่งโรงเรียนเหล่านี้ ส่วนใหญ่ มีปัญหาสำคัญ คือ 1. นักเรียนจากโรงเรียนขนาดเล็กมีคุณภาพค่อนข้างต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรียนขนาดอื่น ๆ อาจเป็นเพราะโรงเรียนขาดความพร้อมทางด้านปัจจัย เช่น มีครูไม่ครบชั้น ขาดแคลนสื่อ และวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน โดยเฉพาะสื่อและเทคโนโลยีที่มีราคาแพง ทั้งนี้เนื่องจากเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณ ส่วนใหญ่ใช้จำนวนนักเรียนเป็นเกณฑ์ในการจัดสรร 2. โรงเรียนขนาดเล็กส่วนใหญ่ขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ กล่าวคือ มีการลงทุนค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรียนขนาดที่ใหญ่กว่า เช่น อัตราส่วนครู : นักเรียน ซึ่งตามมาตรฐานต้อง 1 : 25 แต่สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก อัตราส่วนครู : นักเรียน เท่ากับ 1 : 8 - 11 เท่านั้น 3. อาคารเรียน อาคารประกอบส่วนใหญ่ มีขนาดเล็ก มีห้องเรียนจำกัด สภาพทั่วไปชำรุดทรุดโทรม ก่อให้เกิดอันตรายต่อนักเรียน 4. โรงเรียน ตั้งอยู่ในชุมชนขนาดเล็ก ยังไม่มีศักยภาพ ในการระดมทรัพยากรเพื่อช่วยสนับสนุน สถานศึกษา รวมทั้งชุมชนยังมีความจำเป็นต้องรับการพัฒนา 5. นักเรียนมาจากครอบครัวที่ยากจนขาดแคลน ต้องการการสนับสนุน เพื่อให้ได้รับโอกาสทางการศึกษา และโอกาสมีชีวิตที่ดีต่อไปในอนาคต 6. บางโรงเรียนขาดครูผู้สอน ในบางสาขาวิชา ในบางช่วงชั้น และอยู่ห่างจากแหล่งการเรียนรู้ ปัจจัยด้านประกันคุณภาพ ในผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านประกันคุณภาพ มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการบริหาร แสดงให้เห็นว่าการบริหารจะให้เกิดความสำเร็จนั้น ต้องศึกษาตัวชี้วัดเป็นองค์ประกอบการพัฒนา มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียนมาตรฐานด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ มาตรฐานด้านการปลูกจิตสำนึกและการเสริมสร้างการเป็นพลไทยและพลเมืองโลก ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา มาตรฐานด้านอัตลักษณ์ของสถานศึกษา มาตรฐานด้านมาตรการส่งเสริม ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ บุคลากรเห็นความสำคัญและตระหนักในเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา และบุคลากรมีความเข้าใจว่ามีผลต่อตนเองและการปฏิบัติงาน ซึ่งสอดคล้องกับ ชนม์ชกรณ์ วรอินทร์ (2549: 236-244) เหนี่ยว ศีลาวงศ์ (2551: 192-198) สำนักรับรองมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา (2547: 15-16) อำภร บุญช่วย (2550: 25-26) ชีวิน ทองศรี (2551, 148-159) ธงชัย บุญเรือง (2547: 8-9) ธรวรรณ บัวขุนเณร (2550: 25-26) นวพรรดิ์ นามพุทธา (2555: 258-269) การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา การติดตามตรวจสอบ การประเมินตามมาตรฐานการศึกษา การจัดทำรายงานประจำปี การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการพัฒนาในการบริหารสู่ความสำเร็จของสถานศึกษา โดยปฏิบัติ การกำหนดมาตรฐานสถานศึกษา การจัดทำแผนพัฒนา การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ การดำเนินงานตามแผนพัฒนา การติดตามตรวจสอบคุณภาพ การประเมินคุณภาพ การจัดทำรายงาน การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทุกภาคส่วนควรมีส่วนร่วมในการปฏิบัติร่วมกัน พัฒนาจัดการศึกษาเพื่อส่งผลต่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในการประกันคุณภาพอย่างมีมาตรฐาน สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เผยผลประเมินคุณภาพภายนอกรอบสอง พ.ศ.2549-2551 พบว่า ระดับขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ผ่านการประเมินน้อยสุด ร้อยละ 79.5 เมื่อเปรียบเทียบกับสังกัดอื่น หากพิจารณาขนาดสถานศึกษาพบ โรงเรียนขนาดเล็กผ่านการประเมินน้อยสุดร้อยละ 76.45 ขณะที่สถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษผ่านประเมินมากสุด ร้อยละ 98.5 รองลงมาเป็นขนาดใหญ่ ร้อยละ 95.61 โรงเรียนที่ไม่ผ่านประเมิน ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนขนาดเล็กสังกัด สพฐ. โรงเรียนระดับขั้นพื้นฐาน ทุกสังกัด ทุกขนาดที่เข้ารับประเมินมี 20,184 แห่ง ส่วนใหญ่สังกัด สพฐ. 18,088 แห่ง(ทั้งหมด 32,256 แห่งปี 2550) ไม่ผ่านประเมิน 3,772 แห่ง เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก 3,389 แห่ง หากลงในรายละเอียดพบว่า ปีการศึกษา 2549-2550 มีโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สพฐ. ที่นักเรียนไม่เกิน 120 คนถึงร้อยละ 40 ของโรงเรียนสังกัด สพฐ.ทั้งหมดแต่ละปีรัฐอุดหนุนงบฯจำนวนมาก แต่คุณภาพการศึกษากลับไม่เพิ่มเท่าที่ควร เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2552) อย่างไรก็ตามเมื่อดูสภาพปัจจุบันปัญหาแล้วการขาดแคลนครูทั้งด้านปริมาณและความเชี่ยวชาญ และขาดแคลนสื่อ จึงส่งผลต่อคุณภาพการเรียนการสอนในโรงเรียนขนาดเล็กอย่างไม่ต้องสงสัย ผลการประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) จึงไม่ใช่สิ่งแปลกประหลาดแต่อย่างใด เป็นสิ่งที่เป็นไปตามสมมติฐานทุกประการ ปัจจัยด้านประสิทธิผล ในผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านประสิทธิผล มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการบริหาร แสดงให้เห็นว่าการบริหารจะให้เกิดประสิทธิผลนั้น ต้องศึกษาตัวชี้วัดเป็นองค์ประกอบการพัฒนา กลยุทธ์ โครงสร้างองค์กร เทคโนโลยี วัฒนธรรม สภาพแวดล้อม สอดคล้องกับ สุทธิพงษ์ ยงค์กมล(2543: 240) พบว่า โครงสร้างขององค์กรและบรรยากาศองค์กรส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับเจมส์และโจนส์ (James & Jones, 1974, pp. 1096 – 1112) การจัดส่วนต่างๆของโรงเรียน ซึ่งนอกจากจะช่วยในการบังคับบัญชาและควบคุมการทำงาน เพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงปรัชญาในการบริหารงาน สอดคล้องกับงานวิจัยของ กิบสัน (Gibson, 1998) พบว่าโครงสร้างองค์การส่งผลต่อองค์กร เช่นเดียวกับงานวิจัยของพัชรีวรรณ กิจมี (2549: 44-46) ที่พบว่า โครงสร้างองค์กรส่งผลต่อบรรยากาศองค์กร นอกจากนี้ พิมพร ไชยตา (2552: 132) จากการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก พบว่าปัจจัยสภาพแวดล้อมมีผลต่อความสำเร็จของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก ดังนั้นในการบริหารให้ประสบความสำเร็จนั้นจะต้องจัดการ ตัวชี้วัด กลยุทธ์ โครงสร้างองค์กร เทคโนโลยี วัฒนธรรม สภาพแวดล้อม ของปัจจัยปัจจัยด้านประสิทธิผล งานวิจัยเรื่อง กรณีศึกษารูปแบบความสำเร็จการจัดการศึกษาโรงเรียนนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2557) โดย ดร.จันทร์จิรา จูมพลหล้า ดร.พงษ์นิมิตร พงษ์ภิญโญ และ อ.พรทิพา หล้าศักดิ์ แห่งคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดปฏิรูปโรงเรียนขนาดเล็กด้วยการยุบหรือควบรวมโรงเรียนไม่ใช่แนวทางแก้ปัญหาที่ประสบความสำเร็จในทุกกรณี ควรให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของผู้ปกครองและคนในชุมชน นอกจากนั้น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ทั้งผู้บริหารโรงเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน ควรหาแนวทางยกระดับคุณภาพของโรงเรียนร่วมกัน ตั้งแต่ กลยุทธ์ โครงสร้างองค์กร เทคโนโลยี วัฒนธรรม สภาพแวดล้อมการวางแผน การพัฒนาหลักสูตร การจัดกระบวนการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสื่อการสอน และการหางบประมาณในด้านตัวชี้วัดในการยุบ ควบรวม และคงอยู่ของโรงเรียนขนาดเล็ก พบว่า ชุมชนมีความพึงพอใจต่อโรงเรียนขนาดเล็กในด้านการเรียนการสอน ทั้งด้านวิชาการ การพัฒนาทักษะ กิจกรรมการเรียนรู้ รวมถึงความสะดวกในการเดินทาง ผู้ให้สัมภาษณ์เห็นว่า ตัวชี้วัดที่ถูกออกแบบโดยหน่วยงานส่วนกลางเพื่อยุบและควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กมีปัญหา เพราะมุ่งเน้นที่ผลสัมฤทธิ์การศึกษาของนักเรียนผ่านคะแนนข้อสอบ O-Net ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญต่อความรู้ของเด็กเพียงด้านเดียวเท่านั้น ไม่ได้ตระหนักถึงวิถีชีวิตของชุมชน นอกจากนี้ การประเมินคุณภาพด้วยมาตรฐานตัวชี้วัดจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ไม่เหมาะสมต่อบริบทของโรงเรียนขนาดเล็ก เนื่องจากโรงเรียนขนาดเล็กมีศักยภาพไม่เท่ากับโรงเรียนขนาดกลางและใหญ่ที่มีความพร้อมหลายด้าน รวมทั้งการประเมินโดยใช้เอกสารไม่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนด้วยเหตุนี้ สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนยุบหรือควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก คือ การรับฟังความเห็นของผู้ปกครอง และชุมชนว่าต้องการยุบหรือควบรวมโรงเรียนหรือไม่ และอย่างไร เพราะหากภาครัฐทำไปโดยไม่ถามความเห็นจากคนในชุมชน แทนที่จะทำให้เกิดประโยชน์ อาจก่อปัญหาแก่คนในชุมชนมากขึ้น อย่างไรก็ดี หากโรงเรียนขนาดเล็กที่มีความพร้อมแต่ไม่สามารถทำให้เด็กมีคุณภาพ (ดี เก่ง และมีความสุข) ได้ ชุมชนก็พร้อมจะยุบและควบรวมโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพต่อไป ความสำเร็จองค์กร ในผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยความสำเร็จองค์กรมีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการบริหาร แสดงให้เห็นว่าการบริหารจะให้เกิดประสิทธิผลนั้น ต้องศึกษาตัวชี้วัดเป็นองค์ประกอบการพัฒนา พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหาร การมีส่วนร่วมของชุมชน ความผูกพันองค์กร บรรยากาศองค์กร ผลงานขององค์กร สอดคล้องกับ ภารดี อนันต์นาวี(2545) ประเสริฐ บัณฑิศักดิ์ (2540) พัชรีวรรณ กิจมี (2549) ประทิน วิเศษสุวรรณ (2545) วูดส์ (Woods, 1998, p.668) บูซซี่ (Buzzi, 1991, p.3167-A) ซึ่งพบว่าผู้นำทางวิชาการ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ที่มีความสัมพันธ์ที่ส่งผลทางบวกต่อการบริหารสู่ความสำเร็จ นอกจากนี้ยังแสดงถึงความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการบริหารจัดการสู่ความสำเร็จ นอกจากนี้ พิมพร ไชยตา (2552: 212-134) ความสำเร็จขององค์กร จะส่งผลกับความสำเร็จของโรงเรียนขนาดเล็ก ธนสาร บัลลังก์ปัทมา (2551: 233) การมีส่วนร่วมของประชาชน และชุมชนในการจัดการศึกษา นับเป็นกระบวนการที่สำคัญ ที่จะช่วยพัฒนาการศึกษาให้ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น โดยเฉพาะในโรงเรียนขนาดเล็ก หากชุมชนมีส่วนร่วมในการสนับสนุนทรัพยากรการศึกษา รวมถึงการเชิญผู้ปกครองที่มีความรู้และมีเวลาว่างมาเป็นครูพ่อครูแม่ให้ความรู้ด้านวิชาการ ด้านภูมิปัญญากับบุตรหลาน ย่อมเกิดผลดีทั้งต่อโรงเรียนที่ได้บุคลากรเพิ่ม ส่วนผู้ปกครองย่อมภาคภูมิใจที่ได้สอนบุตรหลานในโรงเรียน รวมถึงนักเรียนที่จะมีความเคารพและนับถือในตัวผู้ปกครองเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุนชน สุภัททา ปิณฑะแพทย์ (2542) ในการบริหารจัดการองค์การ โดยเฉพาะหน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษานั้น ปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานภายในองค์การ คือ การมีผู้บริหารที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการบริหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีภาวะผู้นำของผู้บริหารที่จะสามารถนำพาองค์การให้มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันที่ปฏิบัติงานเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ร่วมกันได้ ภาวะผู้นำเปรียบเสมือนอาวุธประจำกายของผู้บริหารและผู้นำที่เป็นนักบริหารมืออาชีพ ที่จะสามารถสร้างอำนาจชักนำและมีอิทธิพลได้เหนือผู้อื่น ตัวชี้วัดการนำของผู้บริหารจัดการที่ได้ชื่อว่ามืออาชีพ คือ ผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพของงาน ภาวะผู้นำจึงเป็นตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพของงาน พิมพร ไชยตา (2552: 123-126) ผู้บริหารมีอิทธิพลโดยตรงต่อความสำเร็จและส่งอิทธิพลโดยผ่านปัจจัยการมีส่วนร่วมของชุมชน และส่งอิทธิพลโดนอ้อมผ่านปัจจัยบรรยากาศองค์กรและปัจจัยความผูกพันขององค์กร แสดงถึงพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลถึงความสำเร็จในการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กสู่ความสำเร็จ ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรนำรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหาร โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 5 ไปทดลองใช้ในโรงเรียนอื่นที่มีขนาดต่างออไป หรือ ระดับชั้นที่ต่างกัน เพื่อยืนยันข้อมูลเปรียบเทียบความเหมือนและแตกต่าง 2. ควรนำรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารโรงเรียนขนาด เล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 5 ไปทดลองใช้กับตัวแปรอื่นที่ยังไม่ได้ศึกษา 3. นำรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 5 ไปทดลองใช้กับโรงเรียนที่มีการขาดแคลน เช่น ขาดแคลนครู งบประมาณ เทคโนโลยี เพื่อเพิ่มคุณภาพการศึกษา 4. ควรมีการเก็บข้อมูลและศึกษาเชิงคุณภาพเพิ่มเติม เพื่อให้ได้ข้อมูลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 5. ควรมีการศึกษาและพัฒนาตัวชี้วัด ให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงและให้เกิดความยั่งยืน กิตติกรรมประกาศ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ สำเร็จได้ด้วยดี เพราะได้รับความกรุณาอย่างยิ่งจาก รองศาสตราจารย์ ดร.สมเจตน์ ภูศรี อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก รองศาสตราจารย์ ดร.สุเทพ เมยไธสง อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ศ.ดร. ปรีชา ประเทพา ประธานกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และ รศ.ดร.เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่กรุณาให้ความช่วยเหลือสนับสนุน ตรวจสอบแก้ไข ผู้วิจัยขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ อ้างอิง เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ “วิกฤตคุณภาพโรงเรียน ขนาดเล็ก” ใน หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย. ฉบับวันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ.2552. ชนม์ชกรณ์ วรอินทร์. (2549). การพัฒนารูปแบบ ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : การประเมินแบบเสริมพลัง. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (การทดสอบและวัดการศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ธนสาร บัลลังก์ปัทมา. (2551). การมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: The City Journal. ธร สุนทรายุทธ. (2551). การบริหารจัดการเชิง ปฏิรูป : ทฤษฎี วิจัย และปฏิบัติทางการศึกษา.กรุงเทพฯ : บริษัท เนติกุลการพิมพ์ จำกัด . นวพรรดิ์ นามพุทธา . (2555). รูปแบบการพัฒนา ระบบการประกันคุณภาพในสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26.ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการจัดการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม. บุณยกุล หัตถกี. (2556). รูปแบบการบริหารคุณภาพ การศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ ปร.ด., มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี. ประทิน วิเศษสุวรรณ. 2545. ปัจจัยการบริหาร สถานศึกษาที่สัมพันธ์กับประสิทธิผล ในการจัดการศึกษา ของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญ เขต 1. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. (สำเนา) ประเสริฐ บัณฑิตศักดิ์. (2540).การวิเคราะห์ปัจจัยที่ ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของหน่วย ศึกษานิเทศก์กรมสามัญศึกษา.วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหาร การศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. พิมพร ไชยตา. (2552). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อ ความสำเร็จของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมกา |
|||||||||
คำสำคัญ | ||||||||||
บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ | ||||||||||
Keyword | ||||||||||
วรากร ตันฑนะเทวินทร์
1 บทความชื่อ - สกุล | วารสาร | ไฟล์ |
หน้า |
|
---|---|---|---|---|
|
วรากร ตันฑนะเทวินทร์ CAS449 |
รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหาร โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 5 |