ไฟล์ ดาวน์โหลด |
353841682.pdf |
|||||||||
|
ชื่อผู้วิจัย รสริน รุ่งกิจธนาสาร
|
|||||||||
บทคัดย่อ ภาษาไทย |
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานด้วยเทคนิคการตั้งคำถามกับแบบปกติ และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานด้วยเทคนิคการตั้งคำถามกับแบบปกติ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ทั้งหมด 16 ห้อง เป็นจำนวน 637 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 35 คน ดําเนินการวิจัยโดยใช้แผนการวิจัยแบบ Non-equivalent Control Group Pretest–Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานด้วยเทคนิคการใช้คำถาม จำนวน 8 แผน ระดับคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้เฉลี่ย 4.85 2) แผนการจัดการเรียนรู้วิธีปกติ จำนวน 8 แผน มีระดับคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้เฉลี่ย 4.80 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จำนวน 20 ข้อ มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 และ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.79 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test for Independent Samples ผลการวิจัย พบว่า 1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานด้วยเทคนิคการตั้งคำถามมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิธีปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานด้วยเทคนิคการตั้งคำถามมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิธีปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
|||||||||
คำสำคัญ | การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน; เทคนิคการใช้คำถาม; ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ | |||||||||
บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ | The purposes of this research were to 1) compare grade 12 students’ critical thinking ability after learning through problem-based learning with questioning technique and traditional method, and 2) compare grade 12 students’ learning achievement after learning through problem-based supplemented with questioning technique and traditional method. The sample were 637 grade 12 students were 16 class from Pathumthep Wittayakarn school in the second semester of academic year 2022. The sample was determined by using cluster random sampling, and using the classroom as the sample unit. They were divided into the 30 experimental group and 35 control group. The research conducted was Non-equivalent control group pretest posttest design. The research instruments consisted of 1) problem-based learning supplemented with questioning technique lesson 8plans the quality assessment of the learning management plan were at a 4.85 2) traditional method lesson 8 plans the quality assessment of the learning management plan were at a 4.85 3) critical thinking ability test has 20 questions the confidence value of 0.86, and 4) learning achievement test has 40 questions the confidence value of 0.79. The statistics for data analysis were mean, standard deviation, and t-test for independent samples. The research results were as follows 1. The students who received the problem-based learning with questioning technique had significantly higher critical thinking ability after learning than the students who received the traditional method at .01 level. 2. The students who received the problem-based learning with questioning technique had significantly higher learning achievement after learning than the students who received the traditional method at .01 level. The purposes of this research were to 1) compare grade 12 students’ critical thinking ability after learning through problem-based learning with questioning technique and traditional method, and 2) compare grade 12 students’ learning achievement after learning through problem-based supplemented with questioning technique and traditional method. The sample were 637 grade 12 students were 16 class from Pathumthep Wittayakarn school in the second semester of academic year 2022. The sample was determined by using cluster random sampling, and using the classroom as the sample unit. They were divided into the 30 experimental group and 35 control group. The research conducted was Non-equivalent control group pretest posttest design. The research instruments consisted of 1) problem-based learning supplemented with questioning technique lesson 8plans the quality assessment of the learning management plan were at a 4.85 2) traditional method lesson 8 plans the quality assessment of the learning management plan were at a 4.85 3) critical thinking ability test has 20 questions the confidence value of 0.86, and 4) learning achievement test has 40 questions the confidence value of 0.79. The statistics for data analysis were mean, standard deviation, and t-test for independent samples.
The research results were as follows 1. The students who received the problem-based learning with questioning technique had significantly higher critical thinking ability after learning than the students who received the traditional method at .01 level. 2. The students who received the problem-based learning with questioning technique had significantly higher learning achievement after learning than the students who received the traditional method at .01 level.
|
|||||||||
Keyword | Problem-based Learning; Questioning Techniques; Critical Thinking Ability; Learning Achievement | |||||||||
รสริน รุ่งกิจธนาสาร
3 บทความชื่อ - สกุล | วารสาร | ไฟล์ |
หน้า |
|
---|---|---|---|---|
|
รสริน รุ่งกิจธนาสาร CAS1510 |
ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานด้วยเทคนิคการใช้คำถามที่มีต่อความสามารถในการคิด อย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 | ||
|
นางสาวรสริน รุ่งกิจธนาสาร 0 |
ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเสริมด้วยเทคนิคการใช้คำถามที่มีต่อความสามารถในการคิด อย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 | ||
|
นางสาวรสริน รุ่งกิจธนาสาร CAS1346 |
ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเสริมด้วยเทคนิคการใช้คำถามที่มีต่อความสามารถในการคิด อย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 |