วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
ปีที่ 8 ฉบับที่ เดือน ตุลาคม - ปี พ.ศ. 2561

ไฟล์ ดาวน์โหลด

     1542860626-6BE015T.pdf

  

ภรณ์กวินท์ อัครบวรเกียรติ

CAS677

ชื่อผู้วิจัย   ภรณ์กวินท์ อัครบวรเกียรติ
ชื่อผู้ส่งวารสารร่วม/ที่ปรึกษา สถานะ
ผู้วิจัยร่วม
-
วารสารฉบับเต็ม


สาขา

สาขาบริหารธุรกิจและการบัญชี
ชื่อบทความ (ภาษาไทย) ทักษะทางการเงินกับครัวเรือนไทยที่มีหนี้เกินตัว
ชื่อบทความ (ภาษาอังกฤษ)
บทคัดย่อ ภาษาไทย การจัดการการเงินส่วนบุคคลเป็นสินค้าและบริการที่ครัวเรือนผลิตขึ้นเองโดยนำทักษะทางการเงิน ซึ่งเป็นทุนมนุษย์ประเภทหนึ่งมาใช้ในการจัดสรรเงินได้ผ่านวิธีต่างๆ ที่เหมาะสมกับข้อจำกัดด้านงบประมาณและเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดของครัวเรือน ทั้งนี้ การจัดการการเงินส่วนบุคคลที่เหมาะสมช่วยให้ครัวเรือนจัดสรรเงินได้ให้เพียงพอต่อการรักษาระดับการบริโภคให้สม่ำเสมอและมีความกินดีอยู่ดีตลอดชีวิต ในทางตรงกันข้ามหากครัวเรือนขาดการจัดการการเงินส่วนบุคคลที่เหมาะสมครัวเรือนจะประสบปัญหาในการจัดสรรเงินได้ให้เพียงพอต่อการรักษาความกินดีอยู่ดีของครัวเรือนทำให้ครัวเรือนต้องนำเงินได้ในวันข้างหน้ามาใช้รักษาระดับความกินดีอยู่ดีในวันนี้ผ่านการกู้ยืม ส่งผลให้ครัวเรือนมีเงินได้ในวันข้างหน้าลดลงจากภาระชำระคืนหนี้ และเมื่อครัวเรือนมีภาระในการชำระคืนหนี้ในวันข้างหน้า ครัวเรือนจะมีเงินได้ในการบริโภคในวันข้างหน้าลดลงไปอีก จึงมีโอกาสที่ครัวเรือนต้องกู้ยืมเงินมาเพื่อรักษาระดับการบริโภคในวันข้างหน้าซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนมีภาระชำระคืนหนี้มากเกินกว่าที่จะชำระคืนได้ ก่อให้เกิดปัญหาหนี้เกินตัว (Over-indebtedness) และท้ายที่สุดครัวเรือนไม่อาจรักษาระดับการบริโภคอย่างสม่ำเสมอไว้ได้ ความกินดีอยู่ดีของครัวเรือนจึงลดลง
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของครัวเรือนไทยที่มีหนี้เกินตัว และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะทางการเงินของครัวเรือนไทยกับหนี้เกินตัว บนพื้นฐานของสมมติฐานวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Hypothesis) และทฤษฎีการจัดสรรเวลาของครัวเรือน (Theory of the Allocation of Time) โดยใช้ข้อมูลภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนไทยที่รวบรวมโดยสถิติจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ การศึกษานี้ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทั่วไปของครัวเรือนกับองค์ประกอบของทักษะทางการเงิน ได้แก่ องค์ประกอบด้านความรู้ทางการเงิน พฤติกรรมทางการเงิน และทัศนคติทางการเงิน และทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการมีหนี้เกินตัวกับทักษะทางการเงิน จากการศึกษา พบว่าความรู้ทางการเงินเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับการมีหนี้เกินตัว
คำสำคัญ
บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ Personal finance is a commodity that was produced by household under the budget and time constrained. Household use a financial literacy as human capital to appropriately allocate income and smooth consumption over the lifetime, well-being. Whereas, household who cannot appropriately allocated income, must borrow their future income to smooth their present consumption. If household always borrow, finally they will confront with a never-ending repayment their debt, the over-indebtedness cause household to face tough consumption and their well-being falls. This research aimed to answer what are the over-indebtedness household character and to prove a correlation between household financial literacy and over-indebtedness. The ground theory in this research are the life cycle hypothesis and the theory of the allocation of time. The study used a secondary data from The National Statistical Office. The financial literacy in this study includes: a financial knowledge, a financial behavior and a financial attitude. The research found that the financial knowledge only have a negative correlation with over-indebtedness
Personal finance is a commodity that was produced by household under the budget and time constrained. Household use a financial literacy as human capital to appropriately allocate income and smooth consumption over the lifetime, well-being. Whereas, household who cannot appropriately allocated income, must borrow their future income to smooth their present consumption. If household always borrow, finally they will confront with a never-ending repayment their debt, the over-indebtedness cause household to face tough consumption and their well-being falls. This research aimed to answer what are the over-indebtedness household character and to prove a correlation between household financial literacy and over-indebtedness. The ground theory in this research are the life cycle hypothesis and the theory of the allocation of time. The study used a secondary data from The National Statistical Office. The financial literacy in this study includes: a financial knowledge, a financial behavior and a financial attitude. The research found that the financial knowledge only have a negative correlation with over-indebtedness
Keyword Financial Literacy, Over-indebtedness, Personal finance, Household Production