วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม ปี พ.ศ. 2562

ไฟล์ ดาวน์โหลด

     1577260039-9.(55-63).pdf

  

นันธินีย์ วังนันท์

CAS828

ชื่อผู้วิจัย   นันธินีย์ วังนันท์
ชื่อผู้ส่งวารสารร่วม/ที่ปรึกษา สถานะ
ผู้วิจัยร่วม
วสันต์ชาย สุรมาตย์2 นัยนา สุแพง3
วารสารฉบับเต็ม


สาขา

สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
ชื่อบทความ (ภาษาไทย) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในชุมชนเมือง
ชื่อบทความ (ภาษาอังกฤษ)
บทคัดย่อ ภาษาไทย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ และศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริมกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ในพื้นที่ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 377 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สูงอายุ แบบสัมภาษณ์ความรู้การดูแลสุขภาพ แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับทัศนคติในการดูแลตนเอง แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการเข้าถึงทรัพยากรสุขภาพ แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการให้ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของคนรอบข้าง แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมนและค่าไคสแควร์
ผลการวิจัยพบว่า จำนวนผู้สูงอายุมากกว่าครึ่งเป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วงวัยผู้สูงอายุตอนต้น (60-69 ปี) สถานภาพสมรสคู่ ระดับการศึกษาประถมศึกษาตอนต้น อาชีพแม่บ้าน/พ่อบ้าน มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองน้อย ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองที่ดี คิดเป็นร้อยละ 56.80, 64.20, 66.30, 44.80, 62.00, 66.30 และ 58.60 ตามลำดับ ผู้สูงอายุเกือบทั้งหมดมีทัศนคติที่เหมาะสมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง รายได้เฉลี่ยของครอบครัว 7,500 บาท ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว (โรคประจำตัวมากที่สุดคือ โรคทางต่อมไร้ท่อที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน) มีการเข้าถึงทรัพยากรสุขภาพได้ดี ส่วนใหญ่คนรอบข้างให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุเป็นอย่างดี คิดเป็นร้อยละ 73.70, 88.30 และ 73.50 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า อายุมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ (rs = -.11, p = .03) ทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง และการเข้าถึงทรัพยากรสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ (rs= .19, p < .001; rs = .11, p = .02) สถานภาพสมรสมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ (2= .13, p = .004) จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะให้หน่วยบริการสุขภาพให้ความสำคัญเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเอง จัดสถานที่และกิจกรรมที่เหมาะสมในการส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ
คำสำคัญ
บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ The objective was to examine self-care behavior of elderly and its relation to predisposing factor, enabling factor and reinforcing factor with self-care behaviors in Sila Sub-district, Muang Khon Kaen District, Khon Kaen Province.The sample through stratified random sampling, a total of 377. Data were collected using questionnaires interviewing and analysed using descriptive statistics, Spearman rank correlation analysis and Chi-square test.
The research found that the elderlies’ were female, aged 60-69 years old, married, finished primary education, housekeeper/butler occupation, low self-care knowledge, good self-care behavior were 56.80%, 64.20%, 66.30%, 44.80%, 62.00%, 66.30% and 58.60%, respectively. Almost has a good attitude towards self-care, the average income per month was 7,500 baht. Mostly the elderlies’ had a chronic non-communicable diseases, access health resources at a high level and people around elderly gave importance to caring were 73.7%, 88.3% and 73.5% respectively. A correlation analysis revealed a negative relation between the age with self-care behavior of the elderly (rs = -.11, p = .03). On the other hand, a positive relation was found attitude towards self-care and access health resources with self-care behavior of the elderly (rs= .19, p < .001; rs = .11 , p = .02) and a positive relation between marital status with self-care behavior of the elderly (2= .13, p = .004) Suggestions to based on the results, there were the health service unit gave importance to the care of their health. Arrange suitable places and activities for health promotion for the elderly.
The objective was to examine self-care behavior of elderly and its relation to predisposing factor, enabling factor and reinforcing factor with self-care behaviors in Sila Sub-district, Muang Khon Kaen District, Khon Kaen Province.The sample through stratified random sampling, a total of 377. Data were collected using questionnaires interviewing and analysed using descriptive statistics, Spearman rank correlation analysis and Chi-square test. The research found that the elderlies’ were female, aged 60-69 years old, married, finished primary education, housekeeper/butler occupation, low self-care knowledge, good self-care behavior were 56.80%, 64.20%, 66.30%, 44.80%, 62.00%, 66.30% and 58.60%, respectively. Almost has a good attitude towards self-care, the average income per month was 7,500 baht. Mostly the elderlies’ had a chronic non-communicable diseases, access health resources at a high level and people around elderly gave importance to caring were 73.7%, 88.3% and 73.5% respectively. A correlation analysis revealed a negative relation between the age with self-care behavior of the elderly (rs = -.11, p = .03). On the other hand, a positive relation was found attitude towards self-care and access health resources with self-care behavior of the elderly (rs= .19, p < .001; rs = .11 , p = .02) and a positive relation between marital status with self-care behavior of the elderly (2= .13, p = .004) Suggestions to based on the results, there were the health service unit gave importance to the care of their health. Arrange suitable places and activities for health promotion for the elderly.
Keyword Elderly, Self-care behaviors