วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
ปีที่ 9 ฉบับที่ เดือน พฤศจิกายน - ปี พ.ศ. 2562

ไฟล์ ดาวน์โหลด

     1578024722-9.ED017(68-75).pdf

  

วีระยุทธ โพธิ์ศรี

CAS849

ชื่อผู้วิจัย   วีระยุทธ โพธิ์ศรี
ชื่อผู้ส่งวารสารร่วม/ที่ปรึกษา สถานะ
ผู้วิจัยร่วม
กุหลาบ ปุริสาร2
วารสารฉบับเต็ม


สาขา

สาขาการศึกษา
ชื่อบทความ (ภาษาไทย) สภาพการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านแท่นวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30
ชื่อบทความ (ภาษาอังกฤษ)
บทคัดย่อ ภาษาไทย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สภาพการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครองใน 2) การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านแท่นวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 เพื่อเปรียบเทียบกับสภาพการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมคุณธรรม จำแนกตามจำแนกตามระดับชั้น วุฒิการศึกษา และอาชีพ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านแท่นวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 จำนวน 291 คน โดยวิธีสุ่มแบบแบ่งชั้นตามระดับชั้นก่อน และการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้เกณฑ์จากตารางของเครจซี่ และมอร์แกน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านแท่นวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 ได้ค่าอำนาจจำแนกรายข้อของแบบสอบถามอยู่ระหว่าง .34-.79 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ .95 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้คือ คะแนนเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าวิกฤติที่ (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) พร้อมทั้งการเปรียบเทียบรายคู่ โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s methods) สำหรับข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมคุณธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านแท่นวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 เป็นข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้ปกครองนักเรียน ผลการศึกษาค้นคว้าอิสระพบว่า
1. การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านแท่นวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ได้แก่ ด้านความซื่อสัตย์ สุจริต ด้านความสุภาพ และด้านความมีวินัย
2. เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านแท่นวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 จำแนกตามข้อมูลระดับชั้นของนักเรียนในความปกครอง โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ด้านความขยัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยที่ผู้ปกครองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จะมีส่วนร่วมมากกว่า ผู้ปกครองของนักเรียนระดับชั้นระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6
3. เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านแท่นวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 จำแนกตามวุฒิการศึกษาสูงสุด โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ด้านความขยัน และด้านความมีวินัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
4. เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านแท่นวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 จำแนกตามอาชีพผู้ปกครอง โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ด้านความประหยัด ด้านความสุภาพ ด้านความสะอาด และด้านความสามัคคี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
คำสำคัญ
บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ The purposes of this research were to study the context, to compare and classify class, education degree and occupation of collaborative development’s parents for allowing morality and ethics of Bantanwittaya’s students, Secondary Educational Service Area Office 30. The sample of this research were 291 parents of mattayasuksa 1-3’s students and mattayomsuksa 4-6’s students of Bantanwittaya school, with stratified random sampling and sample random sampling using criteria of Krejcie and Morgan’s table. The instruments of this research were the questionnaire and the result of the discrimination of the questionnaire is between .34-.79. The reliability of the test is equal .95 and structured interview. The data were analyzed by using Average score, Standard deviation, t-test and one-way ANOVA.
The result showed that:
1. The collaborative development’s parents for allowing morality and ethics of Bantanwittaya’s students were high level and the ordering on the average from the high to low were being honest, politeness and discipline.
2. The collaborative development’s parents of the students’ class classify were not difference without hardworking were 0.05 different signification. The parents of mattayasuksa 1-3’s students were more collabolative than mattayomsuksa 4-6’s students.
3. The collaborative development’s parents of the education degree classify were not difference without hardworking and discipline were 0.05 different signification.
4. The collaborative development’s parents of the occupation classify were not difference without economize, polite, clean and harmony were 0.05 different signification.
The purposes of this research were to study the context, to compare and classify class, education degree and occupation of collaborative development’s parents for allowing morality and ethics of Bantanwittaya’s students, Secondary Educational Service Area Office 30. The sample of this research were 291 parents of mattayasuksa 1-3’s students and mattayomsuksa 4-6’s students of Bantanwittaya school, with stratified random sampling and sample random sampling using criteria of Krejcie and Morgan’s table. The instruments of this research were the questionnaire and the result of the discrimination of the questionnaire is between .34-.79. The reliability of the test is equal .95 and structured interview. The data were analyzed by using Average score, Standard deviation, t-test and one-way ANOVA. The result showed that: 1. The collaborative development’s parents for allowing morality and ethics of Bantanwittaya’s students were high level and the ordering on the average from the high to low were being honest, politeness and discipline. 2. The collaborative development’s parents of the students’ class classify were not difference without hardworking were 0.05 different signification. The parents of mattayasuksa 1-3’s students were more collabolative than mattayomsuksa 4-6’s students. 3. The collaborative development’s parents of the education degree classify were not difference without hardworking and discipline were 0.05 different signification. 4. The collaborative development’s parents of the occupation classify were not difference without economize, polite, clean and harmony were 0.05 different signification.
Keyword Collaborative Development, Promoting Morality and Ethics