ไฟล์ ดาวน์โหลด |
1596600354-22-14.jr15T.pdf |
|||||||||
|
ชื่อผู้วิจัย ชีวิน อ่อนละออ
|
|||||||||
บทคัดย่อ ภาษาไทย |
งานวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และแนวทางการบริหารจัดการกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อสร้าง และพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดขอนแก่น 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารจัดการกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดขอนแก่น วิธีดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพ และปัญหาการบริหารจัดการกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดขอนแก่น โดยนำผลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ ร่วมกับการศึกษาแนวทางการบริหารจัดการกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี จำนวน 2 แห่ง และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนาวิเคราะห์ 2) การสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกีฬาของขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดขอนแก่น โดยนำข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 นำมายกร่างรูปแบบการบริหารจัดการกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดขอนแก่น และตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ ด้วยการสนทนากลุ่มกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 15 คน และ 3) การประเมินความเป็นไปได้ และความถูกต้องของรูปแบบการบริหารจัดการกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดขอนแก่น โดยการทำแบบสอบความคิดเห็นของผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงานด้านกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดขอนแก่น สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัจจุบัน และแนวทางการบริหารจัดการกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมมีการดำเนินการบริหารจัดการกีฬา และมีสภาพปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง 2. รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดขอนแก่น ที่สร้างขึ้น ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปัจจัยป้อนเข้า ประกอบด้วย ด้านนโยบาย ด้านบุคคล ด้านงบประมาณ ด้านสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก 2) กระบวนการด้านการบริหารจัดการ ประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์การ การลงมือปฏิบัติ การประสานงาน และการควบคุม 3) ผลที่ได้ ประกอบด้วย ประชาชนทุกกลุ่มออกกำลังกาย และเล่นกีฬาจนเป็นวิถีชีวิต ผู้มีความเป็นเลิศทางการกีฬาได้รับการสนับสนุน และทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม 3. การประเมินรูปแบบการบริหารจัดการกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดขอนแก่น ที่พัฒนาขึ้นมีความเป็นไปได้ มีความเหมาะสม มีความถูกต้องในการนำไปสู่การปฏิบัติ และมีประโยชน์อยู่ในระดับมาก |
|||||||||
คำสำคัญ | ||||||||||
บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ | This research and development, using mixed methods to collect both quantitative and qualitative data. The main objective was to develop a sports management model for the Provincial Local government organization, with the following sub-objectives: 1) to study the actual situations, the problems and the guidelines of the sports management model for the Provincial Local government organization. 2) to construct a tentative sports management model for the Provincial Local government organization and 3) to Evaluate the constructed sports management model. The research procedure followed three steps: 1) studying conditions and problems of the sports through the analysis and synthesis combined with multiple case studies of the sports management with 2 case studies of Provincial Local government organization with best practices in management, 4 educational experts were interviewed. Data were analyzed through content analysis 2) constructing of a tentative model, then checking its appropriateness through focus group discussion among 15 educational experts 3) evaluating the utility and feasibility by conducting a questionnaire administrators and practitioners of sports management of the Provincial Local government organization ; data were analyzed, using means () and standard deviations (S.D.). The results are shown as follows; the results of the research were as follows: 1. The state and problems of sports management of the Provincial Local government organization at a moderate level. 2. The a sports management model for the Provincial Local government organization consists of three main components; 1) inputs with policy, man, money and materials and facility 2) process with six administrative principles: leading, planning, organizing, doing, coordinating and controlling 3) outputs as township residents taking exercise and playing sports as daily life activity and sports for excellence supported by the sponsorship and participation from all sectors involved. 3. The evaluation of the constructed model yielded the results as utility at a high level and the high feasibility, practicality and usefulness. This research and development, using mixed methods to collect both quantitative and
qualitative data. The main objective was to develop a sports management model for the Provincial Local government organization, with the following sub-objectives: 1) to study the actual situations, the problems
and the guidelines of the sports management model for the Provincial Local government organization. 2)
to construct a tentative sports management model for the Provincial Local government organization and
3) to Evaluate the constructed sports management model. The research procedure followed three steps: 1)
studying conditions and problems of the sports through the analysis and synthesis combined with
multiple case studies of the sports management with 2 case studies of Provincial Local government
organization with best practices in management, 4 educational experts were interviewed. Data were
analyzed through content analysis 2) constructing of a tentative model, then checking its appropriateness
through focus group discussion among 15 educational experts 3) evaluating the utility and feasibility by
conducting a questionnaire administrators and practitioners of sports management of the Provincial Local
government organization ; data were analyzed, using means () and standard deviations (S.D.). The results
are shown as follows; the results of the research were as follows:
1. The state and problems of sports management of the Provincial Local government
organization at a moderate level.
2. The a sports management model for the Provincial Local government organization consists
of three main components; 1) inputs with policy, man, money and materials and facility 2) process with six
administrative principles: leading, planning, organizing, doing, coordinating and controlling 3) outputs as
township residents taking exercise and playing sports as daily life activity and sports for excellence
supported by the sponsorship and participation from all sectors involved.
3. The evaluation of the constructed model yielded the results as utility at a high level and
the high feasibility, practicality and usefulness.
|
|||||||||
Keyword | Keywords: Development of sports management model, Provincial Local government organization. | |||||||||
ชีวิน อ่อนละออ
9 บทความชื่อ - สกุล | วารสาร | ไฟล์ |
หน้า |
|
---|---|---|---|---|
|
ชีวิน อ่อนละออ CAS314 |
ภาวะผู้นำสำหรับนักบริหารการศึกษา | ||
|
ชีวิน อ่อนละออ CAS906 |
ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล สำหรับนักบริหารการศึกษา | ||
|
ชีวิน อ่อนละออ CAS935 |
การศึกษาตลาดธุรกิจการจัดการแข่งขันกีฬา ในจังหวัดขอนแก่น | ||
|
ชีวิน อ่อนละออ CAS949 |
การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกีฬา ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดขอนแก่น | ||
|
ชีวิน อ่อนละออ CAS1178 |
แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย | ||
|
ชีวิน อ่อนละออ CAS1253 |
การประเมินโครงการ | ||
|
ชีวิน อ่อนละออ CAS1271 |
แนวทางการบริหารจัดการด้านการพัฒนากีฬา สู่ความเป็นเลิศของการกีฬาจังหวัดขอนแก่น | ||
|
ดร.ชีวิน อ่อนละออ |
|||
|
ชีวิน อ่อนละออ CAS1707 |
แนวทางการบริหารแหล่งเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชน ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 |