ไฟล์ ดาวน์โหลด |
1530047700.pdf |
|||||||||
|
ชื่อผู้วิจัย วิศรุต บุ่งอุทุม
|
|||||||||
บทคัดย่อ ภาษาไทย | การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเครื่องมือในการวางแผนเพื่อพัฒนาธุรกิจการบริการให้มีประสิทธิภาพ และพัฒนาร้านกรณีศึกษาเพื่อเป็นต้นแบบ แนวทางให้แก่ผู้ประกอบการในธุรกิจประเภทเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน ระยะที (1) จากการวิจัย ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth interviews) กับกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเผชิญหน้า (Face-to-Face Interview) และแบบสอบถามผ่านช่องทาง Facebook โดยใช้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 100 คน สามารถสรุปได้ว่า การจัดหมวดหมู่ความต้องการของผู้บริโภค โดย Brady and Cronin เป็น 5 หมวดหมู่ ได้แก่ สภาวะแวดล้อม (Ambient Conditions) การออกแบบ (Design) ปัจจัยทางสังคม (Social Factors) ช่วงเวลาที่รอคอย (Waiting Time) และสิ่งที่จับต้องได้ (Tangibles) นั้น สอดคล้องกับปัจจัยที่จะทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจใช้บริการร้านเกม VR ระยะที่ (2) งานวิจัยนี้ ได้นำเอาเทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ (Quality function deployment: QFD) มาประยุกต์ใช้ โดยเลือกใช้เฉพาะบางส่วนของ บ้านแห่งคุณภาพ (House of Quality) โดยนำเอากลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 100 คน ที่เคยสัมภาษณ์เชิงลึกไปแล้ว และผู้ที่เคยใช้บริการร้านอื่นอีก 100 คน รวมทั้งสิ้น 200 คน ข้อมูลทั่วไปได้แก่เพศ ชาย 87 คน คิดเป็น 43.5% หญิง 113 คน คิดเป็น 56.5% มีผู้ใช้บริการตั้งแต่อายุ 7-30 ปี อาชีพ นักเรียน นักศึกษา และพนักงานส่งอาหาร ในส่วนการปรับปรุงการบริการนั้น แม้ทุกหัวข้อจะเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการให้ปรับปรุง แต่มีเพียงไม่กี่จุดเท่านั้นที่จะจำเป็นต้องปรับปรุงจริง ๆ ซึ่งช่วยให้ประหยัดงบประมาณเป็นอย่างมาก ระยะที่ (3) เมื่อทำการปรับปรุง และหลังการปรับปรุงอีกครั้งแล้ว ผลจากการประเมินพบว่า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจในการให้บริการมากขึ้น | |||||||||
คำสำคัญ | วีอา, เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ, เสียงเรียกร้องของผู้บริโภค | |||||||||
บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ | This study aimed to study planning tools to effectively develop service business and develop case-study shop as a model for entrepreneurs in the same or similar service. Result (1) According to the study, the researcher used in-depth interviews which were Face-to-Face Interview and questionnaire via Facebook with the sample of 100 people. The result showed that categorizing customer’s demand by Brady and Cronin into 5 categories, that were Ambient Conditions, Design, Social Factors, Waiting Time, and Tangibles, was consistent with factors that customer considered coming to VR game center. This research applied Quality Function Deployment (QFD) which the researcher selected only Product Planning or House of Quality. Total participants of 200 people consisted of 100 people who had been in in-depth interview and 100 people who had been to other shops. Participants were 87 men (43.5%) and 113 women (56.5%) at the age of 7-30. They were students and delivery men. In term of service improvement, although the customers wanted the service to be improved in every point, there were some points that were actually needed to be adjusted which saved huge amount of expenditure. After improvement and another improvement, the result showed that customers are more satisfied with the service. This study aimed to study planning tools to effectively develop service business and develop case-study shop as a model for entrepreneurs in the same or similar service. Result (1) According to the study, the researcher used in-depth interviews which were Face-to-Face Interview and questionnaire via Facebook with the sample of 100 people. The result showed that categorizing customer’s demand by Brady and Cronin into 5 categories, that were Ambient Conditions, Design, Social Factors, Waiting Time, and Tangibles, was consistent with factors that customer considered coming to VR game center. This research applied Quality Function Deployment (QFD) which the researcher selected only Product Planning or House of Quality. Total participants of 200 people consisted of 100 people who had been in in-depth interview and 100 people who had been to other shops. Participants were 87 men (43.5%) and 113 women (56.5%) at the age of 7-30. They were students and delivery men. In term of service improvement, although the customers wanted the service to be improved in every point, there were some points that were actually needed to be adjusted which saved huge amount of expenditure. After improvement and another improvement, the result showed that customers are more satisfied with the service.
|
|||||||||
Keyword | Virtual reality, Quality Function Deployment, Voice of Customer | |||||||||
วิศรุต บุ่งอุทุม
3 บทความชื่อ - สกุล | วารสาร | ไฟล์ |
หน้า |
|
---|---|---|---|---|
|
วิศรุต บุ่งอุทุม CAS1300 |
การปรับปรุงคุณภาพการให้บริการร้านเกม VR โดยใช้เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ กรณีศึกษาร้าน VR Delivery KKU | ||
|
วิศรุต บุ่งอุทุม CAS1300 |
การปรับปรุงคุณภาพการให้บริการร้านเกม VR โดยใช้เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ กรณีศึกษาร้าน VR Delivery KKU | ||
|
วิศรุต บุ่งอุทุม CAS1700 |
การปรับปรุงคุณภาพการให้บริการร้านเกม VR โดยใช้เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ: กรณีศึกษาร้าน VR Delivery KKU |