วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
ปีที่ 14 ฉบับที่ 4 เดือน ตุลาคม - ธันวาคม ปี พ.ศ. 2567

ไฟล์ ดาวน์โหลด

     582172227.pdf

  

ธนารักษ์ ฉายประดับ

CAS1883

ชื่อผู้วิจัย   ธนารักษ์ ฉายประดับ
ชื่อผู้ส่งวารสารร่วม/ที่ปรึกษา สถานะ
ผู้วิจัยร่วม
เจษฎา ผลาสุข2
วารสารฉบับเต็ม


สาขา

สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
ชื่อบทความ (ภาษาไทย) กำลังแรงเฉือนของวัสดุเรซินชั่วคราวที่ขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์แบบ 3 มิติ เมื่อถูกซ่อมด้วยระบบสารยึดติดที่แตกต่างกัน
ชื่อบทความ (ภาษาอังกฤษ) SHEAR BOND STRENGTH OF PROVISIONAL 3D PRINTED RESIN REPAIRED USING DIFFERENT ADHESIVE SYSTEMS
บทคัดย่อ ภาษาไทย วัตถุประสงค์: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากำลังแรงยึดเฉือนของวัสดุเรซินชนิดชั่วคราวที่ขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์แบบ 3 มิติ ซึ่งถูกซ่อมแซมด้วยสารยึดติดที่แตกต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย การศึกษานี้ใช้สารไซเลนชนิดที่ไม่รวมอยู่ในขวดเดียวกันกับสารยึดติด (RelyX Ceramic Primer, S) และสารยึดติด 2 ชนิดคือ (1) แอดเปอร์ซิงเกิลบอนด์ทู (Adper Single Bond 2, adh, สารยึดติดที่มีไดเมทาคริเลตเป็นองค์ประกอบหลัก) และ (2) สารยึดติดชนิดยูนิเวอร์ซอล (Scotchbond Universal, Uadh, สารยึดติดที่มีไดเมทาคริเลตและสารไซเลนเป็นองค์ประกอบหลักรวมอยู่ในขวดเดียวกัน) โดยชิ้นงานรูปทรงกระบอก ขนาด 20×15 มิลลิเมตร (เส้นผ่านศูนย์กลาง × สูง) ทั้งหมด 25 ชิ้น นำไปจำลองการใช้งานในช่องปากด้วยเครื่องเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแบบร้อน-เย็นเป็นจังหวะ (thermocycler) จำนวน 5,000 รอบ จากนั้นแบ่งกลุ่มของชิ้นงานออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ชิ้น ตามการเตรียมพื้นผิวที่แตกต่างกัน คือ (1) ไม่มีการเตรียมพื้นผิว (กลุ่มควบคุมเชิงลบ), (2) พ่นทรายด้วยอนุภาคอะลูมิเนียมออกไซด์ (กลุ่มควบคุมเชิงบวก), (3) การใช้กรดฟอสฟอริกและใช้สารยึดติดแบบแอดเปอร์ซิงเกิลบอนด์ทู (E/Adh), (4) การใช้กรดฟอสฟอริก สารไซเลนและใช้สารยึดติดแบบแอดเปอร์ซิงเกิลบอนด์ทู (E/S/Adh) และ (5) การใช้กรดฟอสฟอริกร่วมกับสารยึดติดชนิดยูนิเวอร์ซอล (E/Uadh) จากนั้นทำการยึดชิ้นงานด้วยเรซินคอมโพสิตชนิดไหลแผ่ ฉายแสงเป็นเวลา 40 วินาที และเก็บชิ้นงานแช่ในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นนำชิ้นงานไปหาค่าความแรงยึดเฉือนด้วยเครื่องทดสอบสากล และนำชิ้นงานไปวิเคราะห์ความล้มเหลวด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบสเตอริโอกาลังขยาย 10 เท่า ผลการวิจัย ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) พบว่ากลุ่มที่ให้ค่ากำลังแรงยึดเฉือนมากที่สุดคือ การพ่นทรายด้วยอนุภาคอะลูมิเนียมออกไซด์ (การควบคุมเชิงบวก) รองลงมาคือ การใช้กรดฟอสฟอริกร่วมกับสารยึดติดชนิดยูนิเวอร์ซอล (E/Uadh) และการใช้กรดฟอสฟอริก สารไซเลนและใช้สารยึดติดแบบแอดเปอร์ซิงเกิลบอนด์ทู (E/S/Adh) ซึ่งไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากการควบคุมเชิงบวก (p>0.05) สองกลุ่มที่มีกำลังแรงยึดเฉือนต่ำที่สุด ซึ่งต่ำกว่าการควบคุมเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) คือกลุ่มที่ไม่มีการเตรียมพื้นผิว (การควบคุมเชิงลบ) และการใช้กรดฟอสฟอริกและใช้สารยึดติดแบบแอดเปอร์ซิงเกิลบอนด์ทู (E/Adh) ตามลำดับ จากวิเคราะห์ความล้มเหลวพบการล้มเหลวแบบผสม
ส่วนใหญ่ สรุปผลการวิจัย การเตรียมผิวชิ้นงานด้วยกรดฟอสฟอริกร่วมกับสารยึดติดชนิดยูนิเวอร์ซอล (E/Uadh) และการเตรียมพื้นผิวด้วยการใช้การใช้กรดฟอสฟอริก สารไซเลนและใช้สารยึดติดแบบแอดเปอร์ซิงเกิลบอนด์ทู (E/S/Adh) เป็นวิธีการที่แนะนำในการซ่อมแซมวัสดุเรซินชนิดชั่วคราวที่ขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์แบบ 3 มิติเนื่องจากให้ค่ากำลังแรงยึดเฉือนใกล้เคียงกับการพ่นทรายด้วยอนุภาคอะลูมิเนียมออกไซด์
คำสำคัญ กำลังแรงยึดเฉือน; เรซินชนิดชั่วคราว; เครื่องพิมพ์แบบ 3 มิติ; ซ่อมแซม; สารยึดติด
บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ Objective: This study aimed to evaluate the shear bond strength of aged provisional 3D printed resin repaired with different adhesive systems. Methodology: A silane coupling agent (RelyX Ceramic Primer, S) and two adhesive systems; Adper Single Bond 2 (adh, dimethacrylate based resin) and Scotchbond Universal (Uadh, dimethacrylate based resin containing silane coupling agent), were used. Twenty-five cylindrical specimens (20×15 mm, diameter × height) were designed, 3D-printed and aged by thermocycling for 5,000 cycles. Then, specimens (n=5) were repaired/bonded according to surface treatments as follows: (1) no surface treatment (negative control), (2) Al2O3 sandblasting (positive control), (3) etching and Adper Single Bond 2 (E/Adh), (4) etching, silane coupling agent and Adper Single Bond 2 (E/S/Adh), and (5) etching and Scotchbond Universal adhesive (E/Uadh). After surface treatment, flowable resin composite was bonded to the specimen’s surface by the aid of a Teflon mold (5×3 mm, diameter×height) and light cured for 40 seconds. All bonded specimens were kept in distilled water at 37oC for 24 hours and they were subjected to shear bond strength testing using an Instron testing machine at a crosshead speed of 0.5 mm/min. Failure modes were analyzed by stereomicroscope (10×). Data were analyzed using One-way ANOVA. Results: The highest shear bond strength was achieved in Al2O3 sandblasting (positive control) followed by E/Uadh and E/S/Adh which were not significantly different to the positive control (p>0.05). The two lowest shear bond strength, significantly lower than the positive control (p<0.05), was observed in no surface treatment (negative control) and E/Adh, respectively. Failure modes were mostly mixed failure. Conclusion: E/Uadh and E/S/Adh are the suggested surface treatment prior to repairing aged provisional 3D printed resin due to their comparable shear bond strength to the Al2O3 sandblasting.
Objective: This study aimed to evaluate the shear bond strength of aged provisional 3D printed resin repaired with different adhesive systems. Methodology: A silane coupling agent (RelyX Ceramic Primer, S) and two adhesive systems; Adper Single Bond 2 (adh, dimethacrylate based resin) and Scotchbond Universal (Uadh, dimethacrylate based resin containing silane coupling agent), were used. Twenty-five cylindrical specimens (20×15 mm, diameter × height) were designed, 3D-printed and aged by thermocycling for 5,000 cycles. Then, specimens (n=5) were repaired/bonded according to surface treatments as follows: (1) no surface treatment (negative control), (2) Al2O3 sandblasting (positive control), (3) etching and Adper Single Bond 2 (E/Adh), (4) etching, silane coupling agent and Adper Single Bond 2 (E/S/Adh), and (5) etching and Scotchbond Universal adhesive (E/Uadh). After surface treatment, flowable resin composite was bonded to the specimen’s surface by the aid of a Teflon mold (5×3 mm, diameter×height) and light cured for 40 seconds. All bonded specimens were kept in distilled water at 37oC for 24 hours and they were subjected to shear bond strength testing using an Instron testing machine at a crosshead speed of 0.5 mm/min. Failure modes were analyzed by stereomicroscope (10×). Data were analyzed using One-way ANOVA. Results: The highest shear bond strength was achieved in Al2O3 sandblasting (positive control) followed by E/Uadh and E/S/Adh which were not significantly different to the positive control (p>0.05). The two lowest shear bond strength, significantly lower than the positive control (p<0.05), was observed in no surface treatment (negative control) and E/Adh, respectively. Failure modes were mostly mixed failure. Conclusion: E/Uadh and E/S/Adh are the suggested surface treatment prior to repairing aged provisional 3D printed resin due to their comparable shear bond strength to the Al2O3 sandblasting.
Keyword Shear bond strength; Provisional resin; 3D printed resin; Repair; Adhesive