วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย ...

ปีที่ 8 ฉบับที่ เดือน ตุลาคม - ปี พ.ศ. 2561


ไฟล์ ดาวน์โหลด

     1542962593-22HE011T.pdf

   หน้าที่ 251

นฤมล นามวงษ์

CAS698

ชื่อผู้วิจัย   นฤมล นามวงษ์
ชื่อผู้ส่งวารสารร่วม/ที่ปรึกษา สถานะ
ผู้วิจัยร่วม
นฤมล สินสุพรรณ2 กุหลาบ ปุริสาร3
วารสารฉบับเต็ม


สาขา

สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
ชื่อบทความ (ภาษาไทย) ผลของโปรแกรมฟื้นฟูการกลืนต่อความสามารถในการกลืนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่มีภาวะกลืนลำบาก
ชื่อบทความ (ภาษาอังกฤษ)
บทคัดย่อ ภาษาไทย ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองส่วนใหญ่จะมีภาวะกลืนลำบากทำให้เสี่ยงต่อการเกิดปอดอักเสบจากการสำลักได้ ดังนั้นผู้วิจัยได้ประยุกต์ทฤษฎีความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายในการจัดโปรแกรมฟื้นฟูการกลืนต่อความสามารถในการกลืนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการกลืนและความสามารถในการรับประทานอาหาร ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 35คน โดยใช้แบบประเมินความพร้อมในการกลืน แบบประเมินการกลืนตามมาตรฐาน แบบประเมินระดับการเปลี่ยนแปลงของความรู้สึกตัว แบบประเมินความสามารถในการกลืนและแบบประเมินความสามารถในการรับประทานอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา, Paired t-test, Wilcoxon Match paired Sign Rank Test และ Friedman test ผลการวิจัยพบว่าความสามารถในการกลืนและความสามารถในการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในการรับประทานแต่ละมื้อมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05(P-value<0.001) ด้านการสำลักอาหารพบว่า การรับประทานอาหารมื้อที่ 1 ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
มีอาการสำลักอาหาร ร้อยละ 20.0 และการรับประทานอาหารมื้อที่ 4-6 ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองไม่มีอาการสำลักอาหาร จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นได้ว่าโปรแกรมดังกล่าวเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่มีประสิทธิภาพและสามารถนำไปใช้เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากปอดอักเสบในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้
คำสำคัญ
บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ Dysphagia is a common complication of stroke, but estimates of its frequency vary considerably. It is an important cause of pneumonia within the first days after stroke. Hence, in this study, we aimed to compare the effects of the individualized rehabilitation programs on the recovery of swallowing and eating. This quasi-experimental study was recruited 35 patients with stroke for data collection at pre-posttest and follow-up with Standardized Swallowing Assessment, Glasgow coma scale (GCS), assessment of swallowing and eating ability. Statistical analysis was performed using the Paired t-test, Wilcoxon Match paired Sign Rank Test andFriedman test. After the treatment, the patients showed a significant improvement in the swallowing function (P-value<0.001) and eating ability (P-value<0.001) than that pre-test. Furthermore, stroke patients had aspiration in first meal 20% and they not had had aspiration since fourth meal. The findings of present study showed evidence that the efficacy of rehabilitation interventions to reduce the complication of stroke.
Dysphagia is a common complication of stroke, but estimates of its frequency vary considerably. It is an important cause of pneumonia within the first days after stroke. Hence, in this study, we aimed to compare the effects of the individualized rehabilitation programs on the recovery of swallowing and eating. This quasi-experimental study was recruited 35 patients with stroke for data collection at pre-posttest and follow-up with Standardized Swallowing Assessment, Glasgow coma scale (GCS), assessment of swallowing and eating ability. Statistical analysis was performed using the Paired t-test, Wilcoxon Match paired Sign Rank Test andFriedman test. After the treatment, the patients showed a significant improvement in the swallowing function (P-value<0.001) and eating ability (P-value<0.001) than that pre-test. Furthermore, stroke patients had aspiration in first meal 20% and they not had had aspiration since fourth meal. The findings of present study showed evidence that the efficacy of rehabilitation interventions to reduce the complication of stroke.
Keyword Stroke patient, Dysphagia, Aspiration