ไฟล์ ดาวน์โหลด |
1802331711.pdf |
|||||||||
|
ชื่อผู้วิจัย จักรกฤษณ์ ขำเจิม
|
|||||||||
บทคัดย่อ ภาษาไทย | ความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้มีความสัมพันธ์อย่างมากกับโรคมะเร็งตับชนิดปฐมภูมิหรือมะเร็งเซลล์ตับ (hepatocellular carcinoma; HCC) โดยตับกับลำไส้นั้นมีความเชื่อมโยงผ่านทางระบบไหลเวียนตับและลำไส้ (enterohepatic circulation) อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของความหลากหลายและองค์ประกอบของจุลินทรีย์ในลำไส้กับการดำเนินโรคมะเร็งตับยังคงมีจำกัด ในการศึกษานี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและเปรียบเทียบลักษณะของจุลินทรีย์ในลำไส้กับการเกิดโรคมะเร็งตับที่เกิดจากสาเหตุของโรคที่แตกต่างกัน โดยผู้วิจัยคัดเลือกผู้ป่วยมะเร็งตับ ที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสบีหรือซีจำนวน 17 ราย กลุ่มมะเร็งตับที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสจำนวน 13 ราย และกลุ่มอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 10 ราย และทำการตรวจสอบโปรไฟล์จุลินทรีย์ในลำไส้จากตัวอย่างอุจจาระโดยใช้การวิเคราะห์การจัดลำดับของนิวคลิโอไทด์ของยีน 16S ribosomal RNA (16S rRNA) ด้วยเทคนิค next generation sequencing (NGS) และวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวด้วยเครื่องมือทางชีวสารสนเทศ ผลการศึกษาพบว่าความหลากหลายของจุลินทรีย์ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งตับลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มอาสาสมัครสุขภาพดี และพบปริมาณของจุลินทรีย์ในลำไส้ 3 ชนิด ได้แก่ Bacteroides, Ruminoccoccus gnavus group และ Erysipelatoclostridium เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มมะเร็งตับที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มมะเร็งตับที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส จากนั้นได้นำข้อมูลดังกล่าวไปทำนายการทำงานของแบคทีเรีย โดยใช้โปรแกรม PICRUSt2 ผลการศึกษาพบว่าแบคทีเรียดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เช่น การสังเคราะห์ไลโปโพลีแซ็กคาไรด์ ซึ่งมีบทบาทในการส่งเสริมการพัฒนาของโรคมะเร็งตับ โดยสรุป ข้อมูลที่ได้จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การลดลงของความหลากหลายของจุลินทรีย์ในลำไส้และการเพิ่มขึ้นของจุลินทรีย์ในลำไส้ชนิดดังกล่าวอาจมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาการเกิดโรคมะเร็งตับ และอาจพัฒนาเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับได้ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนจุลินทรีย์และเพิ่มความสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ อาจมีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งตับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยมะเร็งตับชนิด HCC ที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส | |||||||||
คำสำคัญ | จุลินทรีย์ในลำไส้, มะเร็งตับชนิด HCC ที่มีสาเหตุมาจากไวรัส, มะเร็งตับชนิด HCC ที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส, ยีน 16S rRNA และ ความหลากหลายของจุลินทรีย์ | |||||||||
บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ | Gut microbiota imbalance or gut dysbiosis emerges as a robust connection to hepatocellular carcinoma (HCC) through the gut-liver axis via enterohepatic circulation. However, current knowledge about gut microbiota in different HCC etiologies remains constrained. This study aimed to investigate the gut microbiota composition in patients with HCC at different etiologies. In this study, 17 patients with viral-related HCC, 13 HCC patients with non-viral-related HCC. and 10 healthy controls were recruited for comparative analysis. To examine gut microbiota profile, fecal samples were collected and 16S rRNA were sequenced using NGS. Then, data were analyzed by bioinformatic tools. Notably, a reduction of microbial diversity was observed in the HCC cohort relative to the healthy control group. Interestingly, there were 3 distinctive gut microbiomes including Bacteroides, Ruminococcus gnavus group and Erysipelatoclostridium, which showed significantly higher in the non-viral related HCC group when compared with viral-related HCC group. Based on PICRUSt2 analysis, these microbes were linked to the immune response such as lipopolysaccharide biosynthesis, thus contributing significantly to the progression of HCC. These results suggested that decreasing of gut microbiota diversity and increasing of those 3 bacteria could play an important role in HCC development. These bacteria could be used as diagnostic biomarkers in patients with HCC. In the future, interventions targeting the modulation of intestinal microbiota could enhance the intestinal equilibrium and might prevent the disease particularly in patients with HCC. Gut microbiota imbalance or gut dysbiosis emerges as a robust connection to hepatocellular carcinoma (HCC) through the gut-liver axis via enterohepatic circulation. However, current knowledge about gut microbiota in different HCC etiologies remains constrained. This study aimed to investigate the gut microbiota composition in patients with HCC at different etiologies. In this study, 17 patients with viral-related HCC, 13 HCC patients with non-viral-related HCC. and 10 healthy controls were recruited for comparative analysis. To examine gut microbiota profile, fecal samples were collected and 16S rRNA were sequenced using NGS. Then, data were analyzed by bioinformatic tools. Notably, a reduction of microbial diversity was observed in the HCC cohort relative to the healthy control group. Interestingly, there were 3 distinctive gut microbiomes including Bacteroides, Ruminococcus gnavus group and Erysipelatoclostridium, which showed significantly higher in the non-viral related HCC group when compared with viral-related HCC group. Based on PICRUSt2 analysis, these microbes were linked to the immune response such as lipopolysaccharide biosynthesis, thus contributing significantly to the progression of HCC. These results suggested that decreasing of gut microbiota diversity and increasing of those 3 bacteria could play an important role in HCC development. These bacteria could be used as diagnostic biomarkers in patients with HCC. In the future, interventions targeting the modulation of intestinal microbiota could enhance the intestinal equilibrium and might prevent the disease particularly in patients with HCC.
|
|||||||||
Keyword | Gut microbiome, Viral related HCC, Non-viral related HCC, 16S rRNA gene and Diversity | |||||||||
จักรกฤษณ์ ขำเจิม
1 บทความชื่อ - สกุล | วารสาร | ไฟล์ |
หน้า |
|
---|---|---|---|---|
|
จักรกฤษณ์ ขำเจิม CAS1544 |
ความหลากหลายและองค์ประกอบของจุลินทรีย์ในลำไส้ของผู้ป่วยโรคมะเร็งตับในกลุ่มประชากรไทย |