วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม - มีนาคม ปี พ.ศ. 2567

ไฟล์ ดาวน์โหลด

     1551118566.pdf

  

พัชรินทร์ นะวะสิมมา

CAS1685

ชื่อผู้วิจัย   พัชรินทร์ นะวะสิมมา
ชื่อผู้ส่งวารสารร่วม/ที่ปรึกษา สถานะ
ผู้วิจัยร่วม
อาคม อึ่งพวง2
วารสารฉบับเต็ม


สาขา

สาขาการศึกษา
ชื่อบทความ (ภาษาไทย) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2
ชื่อบทความ (ภาษาอังกฤษ) GUIDELINES FOR DEVELOPING ACADEMIC ADMINISTRATION WITH A PROFESSIONAL LEARNING COMMUNITY IN SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF UDON THANI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA 2
บทคัดย่อ ภาษาไทย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 118 แห่ง กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan.1970 : 607-610) ในแต่ละโรงเรียนได้กำหนดให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือรักษาการ ครูหัวหน้าฝ่ายวิชาการและประธานกรรมการสถานศึกษาหรือรักษาการ (กลุ่มละ 1 คน) เป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก (key informant) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบตรวจสอบรายการ และแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scales) ใช้คำถามแบบปลายเปิดเกี่ยวกับข้อเสนอแนะสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ 0.905 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติพรรณนา โดยวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ตารางความถี่และสังเคราะห์ข้อเสนอแนะ ด้วยตารางความถี่และอธิบายแบบพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 โดยภาพรวม มีสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาด้าน พบว่า ทุกด้านมีสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก มีเพียงด้านการสนับสนุนการเป็นผู้นำร่วมกัน ที่มีสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาโดยลำดับค่าเฉลี่ย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับ คือ ด้านการสนับสนุนการเป็นผู้นำร่วมกัน รองลงมา คือ ด้านการเรียนรู้ร่วมกัน และด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคคล ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการมีเงื่อนไขที่สนับสนุน
2. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 ได้ข้อสรุปและข้อเสนอแนวทาง 10 แนวทาง คือ 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์และค่านิยมร่วมกันมี 2 แนวทาง คือ ผู้บริหารและครู คณะกรรมการสถานศึกษาร่วมกันวางแผนโดยการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู (PLC) เพื่อพัฒนาการบริหารงานวิชาการ และจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) ด้านการสนับสนุนการเป็นผู้นำร่วมกัน มี 2 แนวทาง คือ สร้างแรงบันดาลใจ อุดมการณ์และปฏิบัติภารกิจงานร่วมกันอย่างมีเป้าหมายในรูปโครงการ กิจกรรมต่างๆ และผู้บริหารร่วมสร้างให้เกิดภาวะผู้นำร่วมส่งเสริมให้ครูได้แสดงออกด้วยความเต็มใจ เปิดใจ ใส่ใจในงานที่ได้รับมอบหมายร่วมกัน 3) ด้านการเรียนรู้ร่วมกัน มี 2 แนวทาง คือ มีการสนทนาเกี่ยวกับเป้าหมายการดำเนินงานด้วยกิจกรรมที่หลากหลายนำเทคนิคใหม่ๆ มาใช้อย่างสร้างสรรค์ และจัดให้มีการระดมความคิดเห็นหรือการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู (PLC) เพื่อพัฒนาปรับปรุงการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน 3) ด้านการมีเงื่อนไขที่สนับสนุน มี 2 แนวทาง คือ จัดทำปฏิทินการประชุมทิศทางการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน และจัดระบบการนิเทศงานวิชาการและการเรียนการสอนในโรงเรียน 4) ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคคล มี 2 แนวทาง คือ ครูมีการสร้างองค์ความรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการวิจัยเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการทำงานและมีวัฒนธรรมในการทำงานที่ช่วยเหลือกันเกื้อกูลดูแลซึ่งกันและกัน
3. ผลการประเมินแนวทางการบริหารงานวิชาการด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 พบว่า มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้ของแนวทางโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ การบริหารงานวิชาการ; ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ; แนวทางการบริหารงานวิชาการ
บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ -
-
Keyword Academic Administration; Professional Learning Community; Guidelines for Developing Academic Administration