วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย ...

ปีที่ 12 ฉบับที่ 4 เดือน ตุลาคม - ธันวาคม ปี พ.ศ. 2565


ไฟล์ ดาวน์โหลด

     464678850.pdf

   หน้าที่ 72

ภูริดา อุพลรัมย์

CAS1309

ชื่อผู้วิจัย   ภูริดา อุพลรัมย์
ชื่อผู้ส่งวารสารร่วม/ที่ปรึกษา สถานะ
ผู้วิจัยร่วม
สุรชัย ปิยานุกุล2, ชูเกียรติ จารัตน์3
วารสารฉบับเต็ม


สาขา

สาขาการศึกษา
ชื่อบทความ (ภาษาไทย) การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบซินเนคติกส์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาทัศนศิลป์ และความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างงานทัศนศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อบทความ (ภาษาอังกฤษ) SYNECTICS MODEL LEARNING MANAGEMENT FOR DEVELOPING LEARNING ACHIEVEMENT AND CREATIVE THINKING IN CREATING VISUAL ARTS FOR MATTHAYOMSUKSA 3 STUDENTS
บทคัดย่อ ภาษาไทย การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาทัศนศิลป์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบซินเนคติกส์ และ 2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างงานทัศนศิลป์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบซินเนคติกส์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนสมเสม็ดวิทยา อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 25 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์โดยอาศัยรูปภาพแบบ ก ของทอร์แรนซ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดย การทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาทัศนศิลป์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบซินเนคติกส์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างงานทัศนศิลป์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบซินเนคติกส์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ รูปแบบซินเนคติกส์, ความคิดสร้างสรรค์, การสร้างงานทัศนศิลป์
บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ The purposes of this research were to 1) compare the learning achievement in visual arts subject of Matthayomsuksa 3 students before and after learning by Synectics model; 2) compare creativity in creating visual arts of students in Mathayomsuksa 3 students before and after learning by Synectics model. The samples were consisted of 25 Matthayomsuksa 3 students in the first semester of academic year 2022 of
Somsamedwittaya School in Satuek District, Buriram Province, under Office of Buriram Secondary Educational Service Area, selected through Cluster Random Sampling method. The instruments of this study included 1) 6 lesson plans; 2) a 30-item with 4 multiple-choice learning achievement test; 3) Torrance Test of Creativity Thinking Figural Form A. The statistics for data analysis included percentage, mean, and standard deviation. The hypothesis was tested by using the dependent sample t-test.
The results of this research were as follows:
1. The learning achievement after learning by Synectics model was higher than before learning with statistically significant difference of .05 level.
2. The creativity of the students learning by Synectics model was higher than before learning with statistically significant difference of .05 level.
The purposes of this research were to 1) compare the learning achievement in visual arts subject of Matthayomsuksa 3 students before and after learning by Synectics model; 2) compare creativity in creating visual arts of students in Mathayomsuksa 3 students before and after learning by Synectics model. The samples were consisted of 25 Matthayomsuksa 3 students in the first semester of academic year 2022 of Somsamedwittaya School in Satuek District, Buriram Province, under Office of Buriram Secondary Educational Service Area, selected through Cluster Random Sampling method. The instruments of this study included 1) 6 lesson plans; 2) a 30-item with 4 multiple-choice learning achievement test; 3) Torrance Test of Creativity Thinking Figural Form A. The statistics for data analysis included percentage, mean, and standard deviation. The hypothesis was tested by using the dependent sample t-test. The results of this research were as follows: 1. The learning achievement after learning by Synectics model was higher than before learning with statistically significant difference of .05 level. 2. The creativity of the students learning by Synectics model was higher than before learning with statistically significant difference of .05 level.
Keyword Synectics Model, Creative Thinking, Creating Visual Arts