วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย ...

ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม - มีนาคม ปี พ.ศ. 2564


ไฟล์ ดาวน์โหลด

     1624251293-15(125-131).pdf

   หน้าที่ 125

รัตนาวลี ถียัง

CAS1056

ชื่อผู้วิจัย   รัตนาวลี ถียัง
ชื่อผู้ส่งวารสารร่วม/ที่ปรึกษา สถานะ
ผู้วิจัยร่วม
1, จุฬามาศ จันทร์ศรีสุคต2, ชาติชาย ม่วงปฐม3
วารสารฉบับเต็ม


สาขา

สาขาการศึกษา
ชื่อบทความ (ภาษาไทย) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซินเนคติกส์เสริมด้วยผังกราฟิก ต่อความสามารถ ในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อบทความ (ภาษาอังกฤษ)
บทคัดย่อ ภาษาไทย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ก่อนเรียนและหลังเรียน และศึกษาเจตคติต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซินเนคติกส์ เสริมด้วยผังกราฟิก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 22 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม แบบแผนการทดลองเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 6 แผน แบบวัดความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ และแบบวัดเจตคติต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซินเนคติกส์ เสริมด้วยผังกราฟิก การดำเนินการทดลองใช้ระยะเวลา 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง รวมทั้งหมดจำนวน 18 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบกลุ่มเดียวและการทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซินเนคติกส์เสริมด้วยผังกราฟิก ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.64 คิดเป็นร้อยละ 45.46 หลังเรียนคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 22.52 คิดเป็นร้อยละ 75.07 โดยนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
2. เจตคติต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซินเนคติกส์ เสริมด้วยผังกราฟิก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 อยู่ในระดับดีมาก โดยเฉพาะในด้านของกิจกรรมการเปรียบเทียบ 3 รูปแบบ ได้แก่ การเปรียบเทียบทางตรง
การเปรียบเทียบกับบุคล และการเปรียบเทียบคำคู่ขัดแย้ง ช่วยทำให้เข้าใจความหมายของคำ หรือสถานการณ์ที่แปลกใหม่
ที่เชื่อมโยงกันเพื่อนำไปใช้ในการเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์ นอกจากนี้แล้วการนำกิจกรรมการเปรียบเทียบในรูปของตารางมาใช้ในการฝึกฝนการเปรียบเทียบคำที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้คิดอย่างอิสระ ช่วยให้นักเรียนรักในการเรียนรู้และมีความสุข
ในการเรียน
คำสำคัญ
บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ The purposes of this research were to study and compare the creative writing ability before and after learning using synectics model supplement with graphic organizers of prathomsuksa 6 students and to study students’ attitude towards learning activities management using synectics model supplement with graphic organizers. The sample consisted of 22 prathomsuksa 6 students at prathomsuksa school, under the Nongbualamphu Primary Education Service Area 2, Nongbualamphu province, in the second semester of the academic year 2019. They were selected by cluster random sampling. The research design was a one group pretest-posttest design. The research instruments included 6 lesson plans, a creative writing ability test and an attitude questionnaire. The experiment lasted 6 weeks, 3 hours a week, or 18 hours for all. The mean, percentage, standard deviation one sample t-test and t-test for dependent samples were used for data analysis.
The findings of this research were as follows:
1. The students’ pretest and posttest mean scores on creative writing ability using project work were 13.64 or 45.46 percent and 22.52 or 75.07 percent respectively. The students’ posttest score was not less than 75 percent and higher than that of the pretest.
2. The students’ attitude towards learning activities management using synectics model supplement with graphic organizers was 4.54 at a very good level. Especially, 3 metaphoric activities such as direct analogy, personal analogy and compress conflict helped students making word understanding or new situation that associated with creative writing. Furthermore, taking metaphoric activities by using table will open the opportunity for students’ free thinking and helped students love learning and happy to learn.
The purposes of this research were to study and compare the creative writing ability before and after learning using synectics model supplement with graphic organizers of prathomsuksa 6 students and to study students’ attitude towards learning activities management using synectics model supplement with graphic organizers. The sample consisted of 22 prathomsuksa 6 students at prathomsuksa school, under the Nongbualamphu Primary Education Service Area 2, Nongbualamphu province, in the second semester of the academic year 2019. They were selected by cluster random sampling. The research design was a one group pretest-posttest design. The research instruments included 6 lesson plans, a creative writing ability test and an attitude questionnaire. The experiment lasted 6 weeks, 3 hours a week, or 18 hours for all. The mean, percentage, standard deviation one sample t-test and t-test for dependent samples were used for data analysis. The findings of this research were as follows: 1. The students’ pretest and posttest mean scores on creative writing ability using project work were 13.64 or 45.46 percent and 22.52 or 75.07 percent respectively. The students’ posttest score was not less than 75 percent and higher than that of the pretest. 2. The students’ attitude towards learning activities management using synectics model supplement with graphic organizers was 4.54 at a very good level. Especially, 3 metaphoric activities such as direct analogy, personal analogy and compress conflict helped students making word understanding or new situation that associated with creative writing. Furthermore, taking metaphoric activities by using table will open the opportunity for students’ free thinking and helped students love learning and happy to learn.
Keyword Synectics Model, Graphic Organizers, creative writing