วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม - มีนาคม ปี พ.ศ. 2567

ไฟล์ ดาวน์โหลด

     286078483.pdf

  

กฤษฎาพันธ์ พงษ์บริบูรณ์

CAS1684

ชื่อผู้วิจัย   กฤษฎาพันธ์ พงษ์บริบูรณ์
ชื่อผู้ส่งวารสารร่วม/ที่ปรึกษา สถานะ
ผู้วิจัยร่วม
กุหลาบ ปุริสาร2, โยธิน สารพล3, ปรมินทร์ นวลอินทร์4
วารสารฉบับเต็ม


สาขา

สาขาการศึกษา
ชื่อบทความ (ภาษาไทย) ความต้องการของนักศึกษาและอาจารย์ ในการปรับปรุงหลักสูตรศึกษาทั่วไป ของวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
ชื่อบทความ (ภาษาอังกฤษ) THE NEEDS OF STUDENTS AND TEACHERS IN IMPROVING THE GENERAL EDUCATION CURRICULUM OF THE COLLEGE OF ASIAN SCHOLARS GRADUATE
บทคัดย่อ ภาษาไทย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการของนักศึกษาและอาจารย์มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไป วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย ปีการศึกษา 2566 และ 2) เปรียบเทียบความต้องการของนักศึกษาและอาจารย์ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไป วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย ปีการศึกษา 2566 จำแนกประเภท คณะที่สังกัดและชั้นปีของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย ในปีการศึกษา 2566 จำนวน 303 คน และอาจารย์ผู้สอนระดับปริญญาตรี จำนวน 86 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเป็นแบบมาตรฐานประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus Group)
ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. ความต้องการของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไป พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับ “มาก” (x ̅= 4.26, S.D.= 0.86) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับ “มาก” ทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านอาจารย์ (x ̅= 4.37, S.D.= 0.79), ด้านวิธีสอนและการจัดกิจกรรม การเรียนการสอน (x ̅= 4.36, S.D.= 0.81), ด้านการวัดและประมินผล (x ̅ = 4.35, S.D.= 0.80), ด้านทักษะสังคมและทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 (x ̅= 4.24, S.D.= 0.87) ด้านหลักสูตรและเนื้อหาสาระรายวิชา (x ̅= 4.15, S.D.= 0.89) และด้านอาคารสถานที่สื่อและอุปกรณ์การสอน (x ̅= 4.07, S.D.= 0.92) ตามลำดับ และความต้องการของอาจารย์ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไป พบว่า โดยภาพรวม ค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับ “มาก” (x ̅= 4.36, S.D.= 0.85) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ “มาก” ทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านวิธีสอนและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน (x ̅= 4.49, S.D.= 0.76), ด้านการวัดและประมินผล (x ̅= 4.47, S.D.= 0.82), ด้านอาจารย์ (x ̅ = 4.45, S.D.= 0.83), ด้านหลักสูตรและเนื้อหาสาระรายวิชา (x ̅= 4.27, S.D.= 0.86), ด้านทักษะสังคมและทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 (x ̅= 4.26, S.D.= 0.87) และด้านอาคารสถานที่สื่อและอุปกรณ์การสอน (x ̅= 4.23, S.D.= 0.89) ตามลำดับ
2. ผลการเปรียบเทียบของความต้องการ ระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไป พบว่า โดยภาพรวมและรายด้าน ไม่มีความแตกต่างกัน, ผลการเปรียบเทียบของความต้องการของนักศึกษาและอาจารย์ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไป จำแนกตามคณะที่สังกัด พบว่า โดยภาพรวมและรายด้าน ไม่มีความแตกต่างกัน และผลการเปรียบเทียบของความต้องการของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไป จำแนกตามจำแนกตามชั้นปี พบว่า โดยภาพรวมและรายด้าน ไม่มีความแตกต่างกัน
คำสำคัญ ความต้องการของนักศึกษาและอาจารย์; การปรับปรุงหลักสูตรศึกษาทั่วไป
บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ -
-
Keyword The needs of students and teachers; Improving the general education curriculum


วารสารอื่นๆ

กฤษฎาพันธ์ พงษ์บริบูรณ์

4 บทความ
ชื่อ - สกุล วารสาร
ไฟล์
หน้า
กฤษฎาพันธ์ พงษ์บริบูรณ์
CAS1177
ความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริมกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพ ในการให้ความเชื่อมั่นของทีม E-PLC และคุณภาพของผลลัพธ์ทางการศึกษาในสถานศึกษา
86
กฤษฎาพันธ์ พงษ์บริบูรณ์
CAS1310
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
80
กฤษฎาพันธ์ พงษ์บริบูรณ์
CAS1556
ปัจจัยความพร้อมในการเรียนออนไลน์ที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ทางการเรียนออนไลน์ของนักศึกษา วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย จังหวัดขอนแก่น
128
กฤษฎาพันธ์ พงษ์บริบูรณ์
CAS1684
ความต้องการของนักศึกษาและอาจารย์ ในการปรับปรุงหลักสูตรศึกษาทั่วไป ของวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
174