วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย ...

ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 เดือน เมษายน - มิถุนายน ปี พ.ศ. 2566


ไฟล์ ดาวน์โหลด

     630313806.pdf

   หน้าที่ 39

แพรวพรรณ มูลแก้ว

CAS1470

ชื่อผู้วิจัย   แพรวพรรณ มูลแก้ว
ชื่อผู้ส่งวารสารร่วม/ที่ปรึกษา สถานะ
ผู้วิจัยร่วม
รุ่งทิวา จันทน์วัฒนวงษ์2
วารสารฉบับเต็ม


สาขา

สาขาการศึกษา
ชื่อบทความ (ภาษาไทย) ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเสริมด้วยเทคนิคการใช้คำถามที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระเศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อบทความ (ภาษาอังกฤษ) THE EFFECTS OF PROBLEM-BASED LEARNING MANAGEMENT SUPPLEMENTED WITH QUESTIONING TECHNIQUE ON CRITICAL THINKING AND LEARNING ACHIEVEMENT ON ECONOMICS OF MATHAYOMSUKSA 3 STUDENTS
บทคัดย่อ ภาษาไทย วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเสริมด้วยเทคนิคการใช้คำถาม กับการจัดการเรียนรู้ แบบปกติ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระเศรษฐศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเสริมด้วยเทคนิคการใช้คำถาม กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 2 ห้องเรียน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเสริมด้วยเทคนิคการใช้คำถาม 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระและการทดสอบ ทีแบบอิสระ
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเสริมด้วยเทคนิคการใช้คำถาม มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเสริมด้วยเทคนิคการใช้คำถาม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระเศรษฐศาสตร์สูงกว่าการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
คำสำคัญ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, เทคนิคการใช้คำถาม, ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ The objectives of this research were 1) to compare the critical thinking ability of Mathayosuksa 3 students and problem-based learning supplemented with question technique and normal learning management 2) to compare the learning achievement on economics of Mathayomsuksa 3 students and problem-based learning supplemented with question technique and conventional learning management. The sample group included Mathayomsuksa 3 tudents in a large Secondary School under the Office of UdonThani Secondary Education Service Area, Ban Dung District. UdonThani Province In the first semester of the academic year 2021. Two classrooms were obtained by group randomization. The research instruments consisted of 1) problem-based learning management lesson plans supplemented with questioning technique. 2) conventional learning lesson plan 3) the achievement test on critical thinking ability 4) an achievement test. The statistics used to analyze data were mean, percentage, standard deviation, t-test for dependent samples and t-test for independent samples.
The results were as follows:
1. Mathayomsuksa 3 students who learnt by problem-based learning management supplemented with question technique had critical thinking ability after learning higher than the students who learnt by conventional learning management statistically significant at the .01 level.
2. Mathayomsuksa 3 students who learnt by problem-based learning management supplemented with question technique had higher scores in learning achievement than students who learnt by conventional learning management. statistically significant at the .01 level.
The objectives of this research were 1) to compare the critical thinking ability of Mathayosuksa 3 students and problem-based learning supplemented with question technique and normal learning management 2) to compare the learning achievement on economics of Mathayomsuksa 3 students and problem-based learning supplemented with question technique and conventional learning management. The sample group included Mathayomsuksa 3 tudents in a large Secondary School under the Office of UdonThani Secondary Education Service Area, Ban Dung District. UdonThani Province In the first semester of the academic year 2021. Two classrooms were obtained by group randomization. The research instruments consisted of 1) problem-based learning management lesson plans supplemented with questioning technique. 2) conventional learning lesson plan 3) the achievement test on critical thinking ability 4) an achievement test. The statistics used to analyze data were mean, percentage, standard deviation, t-test for dependent samples and t-test for independent samples. The results were as follows: 1. Mathayomsuksa 3 students who learnt by problem-based learning management supplemented with question technique had critical thinking ability after learning higher than the students who learnt by conventional learning management statistically significant at the .01 level. 2. Mathayomsuksa 3 students who learnt by problem-based learning management supplemented with question technique had higher scores in learning achievement than students who learnt by conventional learning management. statistically significant at the .01 level.
Keyword Problem-based Learnin, Questioning Technique, Critical Thinking