วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย ...

ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 เดือน เมษายน - มิถุนายน ปี พ.ศ. 2566


ไฟล์ ดาวน์โหลด

     1783950055.pdf

   หน้าที่ 88

จุฬามาศ จันทร์ศรีสุคต

CAS1475

ชื่อผู้วิจัย   จุฬามาศ จันทร์ศรีสุคต
ชื่อผู้ส่งวารสารร่วม/ที่ปรึกษา สถานะ
ผู้วิจัยร่วม
ชฎาพร รุขเชษฐ์2, ทักษิณา งามประดับ3
วารสารฉบับเต็ม


สาขา

สาขาการศึกษา
ชื่อบทความ (ภาษาไทย) การพัฒนาระบบการคัดแยกและช่วยเหลือสำหรับนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมที่ไม่ พึงประสงค์ โดยใช้ RTII MODEL
ชื่อบทความ (ภาษาอังกฤษ) DEVELOPING THE SCREENING AND INTERVENTION SYSTEM FOR STUDENTS AT RISK IN MISBEHAVIOR USING RTII MODEL
บทคัดย่อ ภาษาไทย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบการคัดแยกและช่วยเหลือสำหรับนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์โดยใช้ RTII MODEL และ 2) ศึกษาผลการใช้ระบบการคัดแยกและช่วยเหลือสำหรับนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์โดยใช้ RTII MODEL โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานที่ดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาระบบการคัดแยกและช่วยเหลือสำหรับนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ระยะที่ 2 การศึกษาผลการใช้ระบบการคัดแยกและช่วยเหลือสำหรับนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรรมที่ไม่พึงประสงค์ โดยใช้ RTII MODEL กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนวิชาแนะแนว และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สำหรับผู้บริหารและครูผู้สอนวิชาแนะแนว แบบประเมินพฤติกรรมนักเรียน (SDQ) แผน การสอน และการช่วยเหลือนักเรียน 3 ระดับ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปแบบพรรณนาความ
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระบบการคัดแยกและช่วยเหลือสำหรับนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์โดยใช้ RTII MODEL ประกอบด้วย (1) การสร้างทีมครูแนะแนวการใช้ระบบการคัดแยกและช่วยเหลือสำหรับนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์โดยใช้ RTII MODEL (2) การสอนแนะแนวตามแผนปกติ (3) การคัดแยกครั้งที่ 1 (4) การช่วยเหลือระดับที่ 1 (5) การคัดแยกครั้งที่ 2 สำหรับนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงจากการคัดแยกครั้งที่ 1 (6) การช่วยเหลือระดับที่ 2 สำหรับนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง และ (7) การช่วยเหลือระดับที่ 3 สำหรับนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มมีปัญหา 2) ผลการใช้ระบบการคัดแยกและช่วยเหลือสำหรับนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์โดยใช้ RTII MODEL พบว่า (1) จำนวนนักเรียน: ภายหลังการคัดแยกครั้งที่ 2 และ 3 ไม่มีนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ในทุกระดับชั้น แต่ยังคงเหลือนักเรียนที่มีปัญหาด้านพฤติกรรม ระดับชั้นละ 1 คน (2) ความก้าวหน้าทางพฤติกรรม นักเรียนกลุ่มเสี่ยงมีความก้าวหน้าทางพฤติกรรมในระดับที่สูงขึ้น จากระดับ 1 ไปสู่ระดับ 2 และ 3 แต่ยังมีความก้าวหน้าทางพฤติกรรมบางด้านคงที่ในระดับ 2 และมีนักเรียน ชั้น ม.3 จำนวน 1 คน มีความก้าวหน้าทางพฤติกรรมคงที่อยู่ในระดับ 1 ในด้านรักความเป็นไทย (3) ครูมีความพึงพอใจต่อระบบการคัดแยกและช่วยเหลือสำหรับนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์โดยใช้ RTII MODEL โดยรวมในระดับมาก และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อระบบ การคัดแยกและช่วยเหลือสำหรับนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์โดยใช้ RTII MODEL โดยรวมในระดับมาก
คำสำคัญ ระบบการคัดแยกและช่วยเหลือ, พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์, RTII MODEL
บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ The purposes of this research were to 1) develop the screening and intervention system for students at risk in misbehavior using RTII MODEL and 2) study on the effects of implementing screening and intervention system for students at risk in misbehavior using RTII MODEL. The researcg design was mixed methods with two phases of the research were conducted. The first phase was developing screening and intervention system using RTII MODEL. The second phase was to study on the effects of implementing screening and intervention system for students at risk in misbehavior using RTII MODEL. The target group consisted of principal, counselors, and Mathayomsuksa 1-3 Students by purposively selected. The research instruments were Strength Difficulties Questionnaire, Three Tiers instruction and intervention lesson plans, and satisfaction questionnaires. The statistics used in this research were percentage, mean, percentage, standard deviation, content analysis, and descriptive conclusion.
The research results revealed that the screening and intervention system for students at risk in misbehavior using RTII MODEL consisted of building team of counselors for using student screening and intervention system using RTII MODEL; teaching ordinary counseling course; 1st screening, tier-1 intervention; 2nd screening for students at risk from 1st screening; tier-2 intervention for students who were identified as at risk group and tier-3 intervention for students who were identified as problem group, 2) the effects of implementing a screening and intervention system for students at risk in misbehavior using RTII MODEL found that 1) number of students: after the second and third screenings, no students were at risk in misbehavior at every level. But there were still 1 student with behavioral problems at all level. 2) behavioral progress of students at risk in misbehavior had a high level of behavioral progress from level 1 to level 2 and level 3, but some behavioral progress remained constant at level 2 and there was 1 grade 9 student had a stable behavioral progress at level 1 in cherishing Thai-ness. and (3) teachers were satified with sorting nad support system for at risk students at a high level and students were satified with the screening and intervention system for students at risk in misbehavior using RTII MODEL at a high level.
The purposes of this research were to 1) develop the screening and intervention system for students at risk in misbehavior using RTII MODEL and 2) study on the effects of implementing screening and intervention system for students at risk in misbehavior using RTII MODEL. The researcg design was mixed methods with two phases of the research were conducted. The first phase was developing screening and intervention system using RTII MODEL. The second phase was to study on the effects of implementing screening and intervention system for students at risk in misbehavior using RTII MODEL. The target group consisted of principal, counselors, and Mathayomsuksa 1-3 Students by purposively selected. The research instruments were Strength Difficulties Questionnaire, Three Tiers instruction and intervention lesson plans, and satisfaction questionnaires. The statistics used in this research were percentage, mean, percentage, standard deviation, content analysis, and descriptive conclusion. The research results revealed that the screening and intervention system for students at risk in misbehavior using RTII MODEL consisted of building team of counselors for using student screening and intervention system using RTII MODEL; teaching ordinary counseling course; 1st screening, tier-1 intervention; 2nd screening for students at risk from 1st screening; tier-2 intervention for students who were identified as at risk group and tier-3 intervention for students who were identified as problem group, 2) the effects of implementing a screening and intervention system for students at risk in misbehavior using RTII MODEL found that 1) number of students: after the second and third screenings, no students were at risk in misbehavior at every level. But there were still 1 student with behavioral problems at all level. 2) behavioral progress of students at risk in misbehavior had a high level of behavioral progress from level 1 to level 2 and level 3, but some behavioral progress remained constant at level 2 and there was 1 grade 9 student had a stable behavioral progress at level 1 in cherishing Thai-ness. and (3) teachers were satified with sorting nad support system for at risk students at a high level and students were satified with the screening and intervention system for students at risk in misbehavior using RTII MODEL at a high level.
Keyword screening and intervention system, Misbehavior, RTII MODEL